การพัฒนาทักษะการฟัง-พูดภาษาจีน สำหรับการเป็นยุวมัคคุเทศก์ ในมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยาและอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา โดยใช้โปรแกรมการฝึกอบรมแบบเน้นปฏิบัติ

Main Article Content

ธัญญารัตน์ มะลาศรี

บทคัดย่อ

การศึกษานี้ครั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการฟัง-พูดภาษาจีน สำหรับการเป็นยุวมัคคุเทศก์ ในมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยาและอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา โดยใช้โปรแกรมการฝึกอบรมแบบเน้นปฏิบัติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามและแบบสังเกตพฤติกรรม โดยเก็บข้อมูลจากตัวอย่างกลุ่มประชากรจำนวน 15 คน   


              ผลการวิเคราะห์ ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสำรวจ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนทั้งสิ้น 15 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 86.7 เพศชาย คิดเป็นร้อยละ 13.3  อายุของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีอายุ 21-35 ปี มีจำนวนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 100 ระยะเวลาในการเรียนภาษาจีนที่เรียนภาษาจีนเป็นระยะเวลา 5 ปี มีจำนวนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 40 ผลการสอบวัดระดับภาษาจีน (HSK)  ที่สอบผ่านระดับ 3 มีจำนวนมากที่สุด เป็นร้อยละ 53.3


              จากการสำรวจระดับต้องการในการเข้ารับการอบรม พบว่า ความต้องการในการเข้าอบรมอยู่ในระดับมาก   ( = 3.87) ผู้เข้าอบรมต้องการความรู้เกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวในมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยาและทักษะการฝึกปฏิบัติการเป็นมัคคุเทศก์มากที่สุด อยู่ในระดับมาก ( = 3.93) อีกทั้งผู้เข้าอบรมต้องการความรู้เกี่ยวกับด้านไวยากรณ์มากที่สุด อยู่ในระดับมาก ( = 4.20) ผู้เข้าอบรมต้องการให้มีวิธีการอบรมด้านการท่องเที่ยวในรูปแบบการฝึกปฏิบัติจริงมากที่สุด อยู่ในระดับมาก  ( = 4.07) ยุวมัคคุเทศก์ต้องการสื่อประกอบการฝึกอบรมด้านการท่องเที่ยวในรูปแบบเอกสารการฝึกอบรมมากที่สุด อยู่ในระดับมาก  ( = 4.33)


              จากแบบสังเกตพฤติกรรมของผู้เข้าอบรม พบว่า ในด้านความตั้งใจและกระตือรือร้นที่จะใช้ภาษาในขณะปฏิบัติงานมากที่สุด อยู่ในระดับมาก  ( = 4.47) ระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมอบรมที่มีต่อโปรแกรมการฝึกอบรมแบบเน้นงานปฏิบัติ สำหรับการเป็นยุวมัคคุเทศก์ พบว่าช่วยให้ผู้เข้าอบรมความมั่นใจในตนเอง กล้าพูด กล้าแสดงออก และสถานที่ฝึกอบรมมีความเหมาะสมมากที่สุด อยู่ในระดับมาก ( = 4.33) 


              ผลการวิจัยพบว่า ทักษะการฟัง-พูดภาษาจีน สำหรับการเป็นยุวมัคคุเทศก์ ในมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยาและอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา สูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชายุดา จันทะปิดตา. (2555). การพัฒนาแบบเสริมทักษะการฟังภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบัวหลวงวิทยาคม จังหวัดบุรีรัมย์ (การศึกษาอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

ธีราภรณ์ กิจจารักษ์. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาภาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตกรุงเทพมหานคร . มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, กรุงเทพฯ.

พัชรี วิจิตรไพศาล. (2548). การพัฒนาความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร เพื่อการเป็นยุวมัคคุเทศก์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 โดยใช้โปรแกรมการฝึกอบรมแบบเน้นงานปฏิบัติ (การศึกษาอิสระปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

วรรณพรรณ เลิศวัตรกานต์. (2556). การพัฒนาชุดกิจกรรมโดยเน้นงานปฏิบัติเพื่อฝึกทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนมารีวิทยา (การศึกษาอิสระปริญญา ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.