การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียภูมิปัญญาท้องถิ่นน้ำไผ่ไซเดอร์ออแกนิคสวนไผ่ทองสุข ตำบลโคกตูม อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี

Main Article Content

ดวงพร ไม้ประเสริฐ
สายสุนี โพธิ์ตุ่น

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการทำน้ำไผ่ไซเดอร์แบบมีส่วนร่วมกับสวนไผ่ทองสุข ตำบลโคกตูม อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี 2) พัฒนาสื่อมัลติมีเดียภูมิปัญญาท้องถิ่นน้ำไผ่ไซเดอร์ของสวนไผ่ทองสุข ตำบลโคกตูม อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้งานสื่อมัลติมีเดีย กลุ่มตัวอย่าง คือ ตัวแทนในพื้นที่จำนวน 30 คน โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ประกอบด้วย สื่อมัลติมีเดียที่พัฒนาขึ้น แบบประเมินคุณภาพของสื่อมัลติมีเดีย และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้งานสื่อมัลติมีเดีย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


               ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการจัดทำน้ำไผ่ไซเดอร์ ประกอบด้วย การเจาะน้ำไผ่บริสุทธิ์  การขยายพันธุ์ไผ่ การปลูกไผ่ กระบวนการทำน้ำไผ่ไซเดอร์และประโยชน์ของน้ำไผ่ไซเดอร์ 2) สื่อมัลติมีเดียที่พัฒนาประกอบด้วยสื่อวีดิทัศน์และสื่อองค์ความรู้ของน้ำไผ่ไซเดอร์ พบว่า ผลการประเมินคุณภาพของผู้เชี่ยวชาญ อยู่ในระดับมากที่สุด และ       3) ผลความพึงพอใจของผู้ใช้งานที่มีต่อสื่อมัลติมีเดียภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำน้ำไผ่ไซเดอร์ อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิรายุฑ ประเสริฐศรี, และคชากฤษ เหลี่ยมไธสง. (2556). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น

สำหรับเยาวชน จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิชาการรมยสาร, 12(1), 43-55.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สุวีริยสาส์น.

ประคอง กรรณสูต. (2539). สถิติเพื่อการวิจัยคำนวณด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เพ็ญนภา มณีอุด. (2561). การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับชุมชนตำบลน้ำทรง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 11(3), 51-62.

เยาวลักษณ์ แก้วยอด . (2555). รายงานการวิจัยการศึกษาการบริหารจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปไม้ไผ่ในเขตปฏิรูปที่ดินตำบลถ้ำฉลอง อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์. กรุงเทพฯ : สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม.

อภิดา รุณวาทย์. (2561)., พัฒนาสื่อมัลติมีเดียเพื่อท้องถิ่นโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน. วารสารโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารนเทศ, 4(2), 7-16.