สุขภาพจิตผู้สูงอายุของโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลวังใหม่ อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสุขภาพจิตผู้สูงอายุของโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลวังใหม่ อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินสุขภาพจิตผู้สูงอายุฉบับสั้น Thai Geriatric Mental Health Assessment Tool (T-GMHA-15) ของกองส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพจิต ประกอบด้วย 2 ตอน ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปและ ตอนที่ 2 แบบประเมินสุขภาพจิตผู้สูงอายุ รวมจำนวน 15 ข้อ แบบสอบถามที่สร้างขึ้นมีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง 0.30 - 0.71 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ .83 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ในโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลวังใหม่ ได้มาจากวิธีการวิธีการสุ่มอย่างง่าย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยความคลาดเคลื่อน .05 ของยามาเน่ จำนวน 124 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาการหาค่าร้อยละ
ผลการวิจัยพบว่า ระดับสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ โรงเรียนผู้สูงอายุตำบลวังใหม่ ส่วนใหญ่มีสุขภาพจิตในระดับเดียวกับคนทั่วไป คิดเป็นร้อยละ 61.3 รองลงมาคือ สุขภาพจิตในระดับดีกว่าคนทั่วไป คิดเป็นร้อยละ 33.1 และสุขภาพจิตในระดับต่ำกว่าคนทั่วไป คิดเป็นร้อยละ 5.6 เมื่อจำแนกเป็นรายข้อของแบบประเมินสุขภาพจิตฯ พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ไม่รู้สึกกังวลใจ คิดเป็นร้อยละ 40.3 และผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีสุขภาพจิตในระดับมาก 14 ข้อ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
อยู่ระหว่างการปรับปรุง (ลิขสิทธิ์และการรับผิดชอบ)
References
เกสร มุ้ยจีน. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อระดับสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 23(2), 306-318.
นริสา วงศ์พนารักษ์, สมเสาวนุช จมูศรี, และบังอร กุมพล. (2556). ภาวะสุขภาพจิต ความหวังและ พฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 6(1), 141-150.
ปัทมา ผ่องศิริ, กุลธิดา กุลประฑีปัญญา, นันทรียา โลหะไพบูลย์กุล, สะอาด มุ่งสิน และพิสมัย วงศ์สง่า. (2561). คุณภาพชีวิตภาวะสุขภาพจิตและความสามารถในการช่วยเหลือตนเองของผู้สูงอายุ : กรณีศึกษาเขตเมือง อุบลราชธานี. วารสารเกื้อการุณย์. 25(2), หน้า 137-151.
พิสุทธิ์ ศรีอินทร์จันทร์, และบุญมา สุนทราวิรัตน์. (2559). สุขภาพจิตผู้ป่วยเรื้อรังสูงอายุ: มุมมอง ประชาสังคม. Journal Science Technology MSU, 36(2), 203-210.
มณุเชษฐ์ มะโนธรรม. (2561). การเปรียบเทียบระดับความเครียดของผู้สูงอายุ กรณีศึกษาหมู่บ้านดอยกิ่ว ตำบลนางแล อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค, 5(2), 50-59.
เมธี วงศ์วีระพันธุ์. (2559). การส่งเสริมสุขภาพจิตสำหรับผู้สูงอายุของชุมชนต้นแบบในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารจิตวิทยาคลินิก. 47(1).38-47.
ศูนย์สุขภาพจิตที่ 8. (2561). แบบประเมินสุขภาพจิตผู้สูงอายุ ฉบับสั้น. สืบค้น 10 ธันวาคม 2563 จาก https://www.udo.moph.go.th/post-to-day- sa/upload/8MfvbuNFqLD9GzznkrIlw6zeoe/HpAmcn4JVqiBz7EdlICfT0Piql.pdf
สุภาวดี ไชยเดชาธร, ทัศนีย์ ทิพย์สูงเนิน และกชกร แก้วพรหม. (2558). สุขภาพจิตของผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมเสริมสร้างแกนนำชมรมผู้สูงอายุ จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา. 21(1). 31-40.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2553). สำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2553. สืบค้น 10 ธันวาคม 2564, จาก http://www.nso.go.th/sites/2014/Pages/pop/สำมะโนประชากร.aspx.