การศึกษา และเปรียบเทียบปัญหาการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอน วิชาพลศึกษา ระดับประถมศึกษาโรงเรียนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดอ่างทอง

Main Article Content

เสาวลักษณ์ ประมาน
สมชาย สุวรรณะ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบปัญหาการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนวิชา
พลศึกษา ระดับประถมศึกษา โรงเรียนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดอ่างทอง กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอนวิชาพลศึกษา ระดับประถมศึกษา โรงเรียนเครือข่ายฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยาจำนวน 142 คน จากการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ปัญหาการจัดการเรียน
การสอนของครูผู้สอนวิชาพลศึกษา ระดับประถมศึกษา ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ .94  วิเคราะห์ข้อมูลโดย     ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ค่าที


ผลการวิจัยพบว่า


  1. 1. ครูผู้สอนวิชาพลศึกษา ระดับประถมศึกษาโรงเรียนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดอ่างทอง มีปัญหาการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนวิชาพลศึกษาทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านหลักสูตร ด้านการจัดกิจกรรมการสอน ด้านงบประมาณ สถานที่ อุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวก และด้านการวัดและประเมินผล โดยรวมอยู่ในระดับมาก

  2. 2. การเปรียบเทียบปัญหาการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนวิชาพลศึกษา ระดับประถมศึกษาโรงเรียนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดอ่างทอง ตามสาขาวิชาเอกที่จบ พบว่าครูผู้สอนวิชาพลศึกษาที่จบสาขาวิชาเอกพลศึกษาและสาขาวิชาอื่น มีปัญหาการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนวิชาพลศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในด้านหลักสูตร ด้านการจัดกิจกรรมการสอน และด้านการวัดและประเมินผล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์รับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

กรรัช มากเจริญและสุวิมล ชูสุวรรณ. (2561). สภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอนพลศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์เขต 1. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา, 6(2), 8-19.

พุทธรัตน์ พุทธจาและสุธนะ ติงค์ภ์ทิย์. (2558). การนำเสนอแนวทางการจัดการเรียนรู้พลศึกษาในโรงเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, 10(2), 238-296.

วาสนา คุณาอภิสิทธิ์. (2539). หลักสูตรและการจัดการเรียนรู้พลศึกษา. กรุงเทพมหานคร : บริษัทพิมพ์ดี.

วาสนา คุณาอภิสิทธิ์. (2559). รากฐานของพลศึกษา วิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและกีฬา. เอกสารประกอบ การสอน. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต.

วิริยา บุญชัย. (2529). การทดสอบและวัดผลทางพลศึกษา. กรุงเทพมหานคร: บริษัทโรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิชจำกัด.

วรศักดิ์ เพียรชอบ. (2561). ปรัชญา หลักการ วิธีสอน และการวัดเพื่อประเมินผลทางการศึกษาพลศึกษา. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิรินภา เคานาวัง. (2561). ปัญหาการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.

เสาวลักษณ์ ประมาน และประวิทย์ ประมาน. (2559). ปัญหาการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขึ้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของครูผู้สอนวิชาพลศึกษา ระดับประถมศึกษา โรงเรียนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดอ่างทอง. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 11(2), 117-125.

Silvester, P. J. (1969). Attitude to physical education in primary school. Physical Education. 61(6), 66-76.

Workman, D. J. (1966). A comperison in selected skills of children taught by the physical education specialist and taught by classroom teacher. Dissertation Abstract International. 20(5). 2581-A.