การปฏิบัติตนเบื้องต้นในฐานะชาวพุทธของนิสิตคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

Main Article Content

บุญรอด บุญเกิด
สกุล อ้นมา
ขันทอง วิชาเดช

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการปฏิบัติตนเบื้องต้นในฐานะชาวพุทธของนิสิตคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และเพื่อเปรียบเทียบระดับการปฏิบัติตนเบื้องต้นในฐานะชาวพุทธของนิสิต จำแนกตามเพศและชั้นปีการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 28 ข้อ แบบสอบถามที่สร้างขึ้นมีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .21 - .85 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ .92 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นิสิตคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ชั้นปีที่ 1-4 ประจำปีการศึกษา 2563 ได้มาจากวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยความคลาดเคลื่อน .05 ของยามาเน่ จำนวน 357 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ใช้สถิติเปรียบเทียบ t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างรายคู่ ด้วยวิธีการของ  เชฟเฟ (Sheffe’s Method) ผลการวิจัยพบว่า


  1. ระดับการปฏิบัติตนเบื้องต้นในฐานะชาวพุทธของนิสิตคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 2.97 เมื่อพิจารณารายข้อโดยเรียงลำดับตามคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 อันดับ ได้แก่ นิสิตรักษาศีล 5 ข้อที่ 3 โดยเว้นจากการประพฤติผิดในกาม, นิสิตรักษาศีล 5 ข้อที่ 2 โดยเว้นจากการลัก โกง ละเมิดกรรมสิทธิ์ ทำลายทรัพย์สิน, นิสิตแสดงความเคารพโดยการไหว้ผู้มีพระคุณ เช่น พ่อแม่ ครูอาจารย์ ฯ ทุกครั้งที่พบ ส่วนอันดับสุดท้าย คือ นิสิตร่วมสนทนาธรรมะกับพระสงฆ์

  2. เปรียบเทียบระดับการปฏิบัติตนเบื้องต้นในฐานะชาวพุทธของนิสิตคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เมื่อจำแนกตามเพศ พบว่า โดยรวมนิสิตเพศชายและเพศหญิงมีระดับการปฏิบัติตนเบื้องต้นในฐานะชาวพุทธไม่แตกต่างกัน เมื่อจำแนกตามชั้นปีการศึกษา พบว่า โดยรวมนิสิตที่มีชั้นปีการศึกษาแตกต่างกันระดับการปฏิบัติตนเบื้องต้นในฐานะชาวพุทธไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะเทคโนโลยีและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร. (2563). หวั่น! เด็กรุ่นใหม่ไม่สนใจธรรมะ เหตุมองว่าน่าเบื่อ. สืบค้นจาก http://www.ictsilpakorn.com/ictmedia/detail.php?news_id=118#.XqQZV2gzZPZ.

คูณ โทขันธ์. (2537). พุทธศาสนากับชีวิตประจำวัน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

บุญชม ศรีสะอาด และบุญส่ง นิลแก้ว. (2535). การอ้างอิงประชากรเมื่อใช้เครื่องมือแบบมาตราส่วนประมาณค่ากับกลุ่มตัวอย่าง. วารสารวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม, 3(1), 23-24.

บุญหนา จิมารัง. (2558). รายงานวิจัยเรื่อง ศึกษากระบวนการพัฒนาชาวพุทธต้นแบบและคุณค่าที่มีต่อชุมชน. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น, ขอนแก่น.

พระริน อคฺคเตโช. (2556). การศึกษาการเข้าร่วมกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านคุณธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนวัดปุรณาวาส เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พระนครศรีอยุธยา.

มติชนออนไลน์. (2563). สถานการณ์ปัจจุบันของเด็กและเยาวชนไทย น่าวิตกในอนาคตยิ่งน่าเป็นห่วง. สืบค้นจาก https://www.matichon.co.th/columnists/news_1313057.

สำนักข่าวอิศรา. (2558). ค้นคำตอบ...ทำไมคนไทยห่างไกลวัด. สืบค้นจาก https://www.isranews.org/thaireform-other-news/40254-temple_40254.html.

Cronbach, L.J. (1990). Essential of Psychological testing. (5th ed). New York: Haper Collins.

Yamane. (1970). Statistics: And Introductory Analysis. New York: Harper & Row.