การพัฒนารูปแบบการจัดการผู้ต้องขังที่มีความหลากหลายทางเพศ

Main Article Content

สร้อยทิพย์ อินทะเตชะ
ลักษณพร คำดี
ปรีชา ดิลกวุฒิสิทธิ์

บทคัดย่อ

               การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสาเหตุการกระทำผิด ปัญหาการจัดการความหลากหลาย และแนวทางการจัดการผู้ต้องขังที่มีความหลากหลายทางเพศ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการผู้ต้องขังที่มีความหลากหลายทางเพศ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ และผู้ต้องขังที่มีความหลากหลายทางเพศ จำนวน 42 คน ใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง และการสนทนากลุ่ม จำนวน 15 คน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก  เก็บรวบรวมข้อมูล แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ การเก็บรวบรวมข้อมูลด้านเอกสาร และการเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา


ผลการวิจัย พบว่า การพัฒนารูปแบบการจัดการผู้ต้องขังที่มีความหลากหลายทางเพศ แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การเลือกกลุ่มเป้าหมาย 2) การจำแนกลักษณะผู้ต้องขัง 3) การดำเนินการ ประกอบด้วย (1) ด้านการศึกษา (2) การจัดสวัสดิการ (3) ด้านการควบคุมความเสมอภาค และ 4) ติดตาม ประเมินผล ซึ่งมุ่งเน้นให้กับผู้ต้องขังที่มีความหลากหลายทางเพศมีความรู้ มีทักษะการประกอบอาชีพ และได้รับสวัสดิการอย่างเสมอภาคเหมาะสม เมื่อพ้นโทษไปแล้วสามารถประกอบอาชีพที่สุจริตใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม. (2558). บทสรุปสำหรับผู้บริหารเกี่ยวกับแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2557 – 2561. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

กรมราชทัณฑ์. (2558). แผนปฏิบัติราชการ กรมราชทัณฑ์ พ.ศ. 2559-2562. กรุงเทพฯ: กระทรวงยุติธรรม.

กรมราชทัณฑ์. (2560). คู่มือการจัดการศึกษาสำหรับผู้ต้องขัง. กรุงเทพฯ: ส่วนส่งเสริมการศึกษา สำนักพัฒนาพฤตินิสัยรมราชทัณฑ์.

กฤตยา อาชวนิจกุล และกุลภา วจนสาระ. (2560). การขับเคลื่อน ‘คุกไทย’ สู่ ‘เรือนจำสุขภาวะ’. กรุงเทพฯ: เดือนตุลา.

กอบเกียรติ กสิวิวัฒน์. (2560). กรมราชทัณฑ์ สั่งแยกขังนักโทษกลุ่มเพศทางเลือก. สืบค้น 10 มกราคม 2564, จาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/746426

คณะกรรมการประสานงานองค์กรสิทธิมนุษยชน. (2554). กลไกของมนุษย์การคุ้มครองสิทธิตามรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิฟรีดริชคเอลแบร์.

จารุวรรณ คงยศ. (2561). เพศภาวะ เพศวิถี ประสบการณ์ชีวิตของกะเทยในคุก. วิทยานิพนธ์ สังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยทางสังคม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

จิตติมา กุลประเสริฐรัตน์. (2561). ความหลากหลายทางเพศกับกรอบทางสังคม. สืบค้น 5 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://www.thaipost.net/main/detail/21760#

ฐิติยา เพชรมุน. (2559). การจำแนกลักษณะผู้ต้องขังเปรียบเทียบ. วารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, 24(1), 17 – 46.

ธรรศนัย อ่อนทอง. (2562). การคุ้มครองสิทธิผู้ต้องขัง: ศึกษากรณีกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ. วารสารบัณฑิตศึกษานิติศาสตร์, 12(3), 470 – 480.

นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ. (2560). แนวคิดทฤษฎีเรื่อง “ความหลากหลายทางเพศ”. สืบค้น 10 มกราคม 2564, จาก https://www.sac. or.th/main/th/article/detail/56

นิติพล ธาระรูป. (2561). โครงการพัฒนารูปแบบการปฏิรูปเรือนจำ และกระบวนการคืนผู้ต้องขังสู่ชุมชนสันติสุข. ได้รับทุนอุดหนุนจากมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

บรรเจิด สิงคะเนติ. (2558). หลักพื้นฐานเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน.

ปรีชญาณ์ นักฟ้อน. (2562). การจัดสวัสดิการสำหรับผู้ต้องขังของไทย. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 22(1), 74 – 89.

ฟาติมะห์ ขันธศักดิ์. (2557). สาเหตุการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนและกระบวนการพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน ตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553. ยะลา: สำนักงานอัยการคดีเยาวชนและครอบครัวจังหวัดยะลา.

ราชกิจจานุเบกษา. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. เล่ม 134 ตอนที่ 40ก 6 เมษายน 2560. 1 – 90.

ลภัสกร จันเทพา. (2561). ผู้ต้องขังข้ามเพศในเรือนจำ. วารสารกระบวนการยุติธรรม, 11(2), 31 – 46.

สกล โสภิตอาชาศักดิ์. (2560). การรับรองเพศสถานะตามกฎหมายในประเทศไทย: การทบทวนกฎหมายและนโยบาย. กรุงเทพฯ: โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ สำนักงานประเทศไทย.

สมชาย ปรีชาศิลปะกุล. (2558). บุคคลเพศหลากหลายในระบบกฎหมาย.กรุงเทพฯ: มูลนิธิสิทธิและความเป็นธรรมทางเพศ,

อดิศร จันทรสุข. (2560). การมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจของกลุ่ม LGBTI ในประเทศ. สืบค้น 20 มกราคม 2564, จาก https://prachatailand.blogspot.com/2017/11/prachatai3info_13.html#1

Berry, Rita S. Y. (1999). Collecting Data by In-Depth Interviewing. Retrieved from http://www.leeds.ac.uk/educol/documents/000001172.htm