การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรภาคเอกชนในเขตนิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์ ซิตี้ จังหวัดฉะเชิงเทรา

Main Article Content

พุ่มไสว พุ่มไสว
ปรีชา ดิลกวุฒิสิทธิ์
ลักษณพร คำดี

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมในความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรภาคเอกชนในเขตนิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์ ซิตี้ จังหวัดฉะเชิงเทรา  และ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนารูปแบบ   การมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรภาคเอกชน ในเขตนิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์ ซิตี้ จังหวัดฉะเชิงเทรา           ในการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานของการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณประกอบด้วยผู้บริหาร/ผู้แทนขององค์กรภาคเอกชนในเขตนิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์ ซิตี้ จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวนทั้งสิ้น 231 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนกลุ่มตัวอย่างสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ ผู้ให้ข้อมูลคนสำคัญซึ่งประกอบด้วยผู้แทนขององค์กรภาคเอกชน ผู้นำชุมชน ชาวบ้าน และเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องจำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึก ข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาได้รับการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา


ผลการศึกษามีดังนี้


1) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลลัพธ์การมีส่วนร่วมในความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรภาคเอกชน ในเขตนิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์ ซิตี้ จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้แก่ (1) บริบทองค์กรซึ่งประกอบด้วยปัจจัยด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (2) ปัจจัยนำเข้าขององค์กรซึ่งประกอบด้วยการบริหารจัดการ และทรัพยากรบุคคลที่อยู่ในระดับมาก และปัจจัยด้านภาวะผู้นำและงบประมาณที่อยู่ในระดับปานกลาง (3) กระบวนการขององค์กรซึ่งประกอบด้วยการวางแผน และการประเมิน อยู่ในระดับปานกลาง


2) รูปแบบการมีส่วนร่วมในความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรภาคเอกชนที่เน้นการตระหนักรู้ของผู้บริหารและบุคลากรขององค์กรถึงศักยภาพของชุมชนและสิ่งแวดล้อม และเข้าไปมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการพัฒนาชุมชนและสิ่งแวดล้อมได้รับการรับรองจากผู้เชี่ยวชาญว่า เป็นรูปแบบที่เหมาะสมและสามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพในเขตนิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์ ซิตี้ จังหวัดฉะเชิงเทรา และพื้นที่อื่นๆ ที่มีบริบทใกล้เคียงกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษณะ เชี่ยวเวช. (2562). การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เพื่อความยั่งยืนของชุมชนในเขตประกอบการ
อุตสาหกรรม. วารสารรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 2(1), 63-71.
เกียรติชัย ชินสมบูรณ์กิจ และ พิพัฒน์ นนทนาธรณ์. (2561). อิทธิพลของภาวะผู้นำที่รับผิดชอบต่อสังคมและ
ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานบริษัทศรี ไทยซุปเปอร์
แวร์จำกัด (มหาชน). วารสารสมาคมนักวิจัย , 23(1), 179-191.
ชาญวิชย์ อริยาวรนันต์. (2563). ความรับผิดชอบต่อสังคมในอุตสาหกรรมยานยนต์กรณีศึกษาบริษัทโตโยต้า
มอเตอร์ประเทศไทย จำกัด. วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ, 8(1), 14-22.
ชุติมันต์ บุญนวล, พนารัตน์ ปานมณี และวันชัย ประเสริฐศรี. (2560). ปัจจัยและผลกระทบของการเปิดเผย
ข้อมูลความรับผิดชอบต่อสังคมต่อผลการดำเนินงานของบริษัทในประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจศรี
นครินทรวิโรฒ, 8(2), 1-16.
นันท์นภัส อริยรุจิกาญจน์ และพิพัฒน์ นนทนาธรณ์. (2561). อิทธิพลของภาวะผู้นำที่รับผิดชอบต่อสังคม
และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การที่ส่งผลต่อการรับรู้ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ของ
บุคลากร บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน). วารสารสมาคมนักวิจัย, 23(3), 41-51.

พรชัย ศักดานุวัฒน์วงศ์, วรนา รถแสงมณี, ชนานันต์ สมาหิโต และธีรพงษ์ ปิณจีเสคิกุล. (2561).
บรรษัทบริบาล (ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร) ทำการกุศลเพื่อภาพลักษณ์
องค์กร และตอบสนองประเด็นสังคม (แปลเป็นภาษาไทยโดย ม.ร ว. รมณีย ฉัตรแก้ว
กิริยา). วารสารการบริหารและการจัดการ, 8(2), 227-237.
พิพัฒน์ นนทนาธรณ์ และสุรมน ไทยเกษม. (2560). อิทธิพลของภาวะผู้นำที่รับผิดชอบต่อสังคมและพฤติกรรม
การเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในกิจกรรมด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของ
พนักงานธนาคารอาคารสงเคราะห์. วารสารสมาคมนักวิจัย, 22(1), 244-255.
รังสรรค์ โนชัย. (2562). อิทธิพลของ ความแตก ต่างในมิติของกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรที่
ส่งผลต่อผลกาดำเนินงานทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แห่ง ประเทศไทย. TNI
Journal of Business Administration and Languages, 7(2), 22-31.
Bird, R., Hall, A. D., Momentè, F., & Reggiani, F. (2007). What corporate social
responsibility activities are valued by the market. Journal of business
ethics, 76(2), 189-206.
Chen, H. and Wang, X. (2011). Corporate social responsibility and corporate financial
performance in China: an empirical research from Chinese firms, Corporate
Governance, 11(4), 361-370.