ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองท่าช้าง จังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

ปิยะพงศ์ กู้พงศ์พันธ์
ชาญชลักษณ์ เยี่ยมมิตร
ฐิตวันต์ หงษ์กิตติยานนท์

บทคัดย่อ

               การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเพื่อค้นหาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุในเขต          เทศบาลเมืองท่าช้าง จังหวัดจันทบุรี โดยวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการออกกำลังกายและปัจจัยที่มีผลต่อ                  การออกกำลังกาย 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกาย และ 3) เสนอแนวทางการพัฒนาโปรแกรมกระตุ้นการออกกำลังกาย กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยมี 2 กลุ่ม ได้แก่ ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในเทศบาลเมืองท่าช้าง จังหวัดจันทบุรี จำนวน 333 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านพลศึกษา จำนวน 8 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบทดสอบ และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสมการถดถอยแบบพหุ


                ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงคิดเป็นร้อยละ 58.56 ส่วนเพศชาย ร้อยละ 41.44     มีอายุเฉลี่ย 65.21 ปี ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3.39 มีพฤติกรรมการออกกำลังกายเฉลี่ย 4.00 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.72 ซึ่งเป็นพฤติกรรมในระดับมาก มีความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกายเฉลี่ย 8.01 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.75 ซึ่งเป็นความรู้ในระดับดีเยี่ยม มีทัศนคติในการออกกำลังกายเฉลี่ย 3.63 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.97 ซึ่งเป็นทัศนคติในระดับมาก และมี      การรับรู้ประโยชน์ของการออกกำลังกายเฉลี่ย 3.90 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.86 ซึ่งเป็นการรับรู้ในระดับมาก 2) ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ เพศ อายุ ความรู้ ทัศนคติ และการรับรู้ประโยชน์ของการออกกำลังกาย โดยร่วมกันอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 46 และ3) การแนะแนวทางการพัฒนาโปรแกรมกระตุ้นการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ มี 3 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ การเปิดใจผู้สูงอายุเกี่ยวกับการออกกำลังกาย รูปแบบกิจกรรมของโปรแกรม และคำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับปัจจัยทางเพศ และอายุสำหรับพัฒนาโปรแกรมกระตุ้นพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กวิน บุญประโคน และอาทิตย์ ปัญญาคำ. (2561). การพัฒนารูปแบบการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2562). มาตรการขับเคลื่อนระเบียบวาระแห่งชาติ เรื่อง สังคมสูงอายุ (ฉบับปรับปรุง). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

คณะกรรมการอำนวยการจัดทำแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข. (2559). แผนพัฒนาสุขภาพฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 – 2564. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.

ชลธิชา จันทคีรี. (2559). การส่งเสริมพฤติกรรมการออกกำลังกายในผู้สูงอายุที่เปราะบาง. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 24(2), 1-13.

ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน. (2556). การประยุกต์ใช้ SPSS วิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัย. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ธาริน สุขอนันต์ และคณะ (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลเมืองบ้านสวน. วารสารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยบูรพา, 9(2), 66-75.

ศักดิ์ฐาพงษ์ ไชยศร. (2541). โปรแกรมการออกกำลังกายในผู้สูงอายุหญิง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

Cronbach. (1990). Essential of Psychological testing. New York: Haper Collins.

Hair, J.F., Black, W.C., Babin, B.J., & Anderson, R.E. (2010). Multivariate data analysis. 7th ed. Upper Saddle River, New Jersey: Prentice Hall.

Yamane, Taro. (1996). Statistic An Introductory Analysis. 3rd ed. New York: Harper and Row.