การประเมินโครงการความร่วมมือระหว่างวิทยาลัยเทคนิคอุทัยธานี กับสถานประกอบการ ปีการศึกษา 2562

Main Article Content

สุนัน เทพพันธ์

บทคัดย่อ

               รายงานการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินด้านบริบทของโครงการ 2) ประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ 3) ประเมินด้านกระบวนการของโครงการ 4) ประเมินด้านผลลัพธ์ของโครงการ และ 5) ประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ รวบรวมข้อมูลจากกลุ่มประชากรที่เข้าร่วมโครงการ ประกอบด้วย บุคลากร จำนวน 133 คน ผู้ประกอบการ จำนวน 18 คน นักเรียนในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ชั้นปีที่ 2 ทวิภาคี จำนวน 40 คน ผู้ปกครองนักเรียนในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ชั้นปีที่ 2 ทวิภาคี จำนวน 40 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 231 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการเป็นแบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 5 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามประเมินด้านบริบทของโครงการ ฉบับที่ 2 แบบสอบถามประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ ฉบับที่ 3 แบบสอบถามประเมินด้านกระบวนการของโครงการ ฉบับที่ 4 แบบสอบถามประเมินด้านผลลัพธ์ของโครงการ ฉบับที่ 5 แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อโครงการและการประกอบอาชีพของนักเรียนหลังสำเร็จการศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านบริบท พบว่า ความคิดเห็นจากบุคลากรโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (m = 4.53, s= 0.37) 2) ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า ความคิดเห็นจากบุคลากรโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (m = 4.58, s= 0.66) ความคิดเห็นจากผู้ประกอบการ อยู่ในระดับมก (m = 4.40, s= 0.52) และนักเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมาก (m = 4.47, s= 0.60) 3) ด้านกระบวนการ พบว่า ระดับความคิดเห็นจากบุคลากร โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (m = 4.59, s= 0.55) และนักเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (m = 4.56, s= 0.54) 4) ด้านผลลัพธ์การจัดกิจกรรม พบว่า ระดับความคิดเห็นจากบุคลากรด้านผลลัพธ์ของโครงการ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (m= 4.59, s= 0.62) ระดับความคิดเห็นจากผู้ประกอบการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (m = 4.42, s= 0.53) ระดับความคิดเห็นจากนักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (m = 4.53, s= 0.56) 5) ด้านความพึงพอใจต่อโครงการ พบว่า ระดับความคิดเห็นจากผู้ประกอบการด้านความพึงพอใจที่มีต่อโครงการ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก (m = 4.46, s= 0.60) ระดับความคิดเห็นจากนักเรียนด้านความพึงพอใจที่มีต่อโครงการ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (m = 4.65, s= 0.62) ระดับความคิดเห็นจากผู้ปกครองนักเรียนด้านความพึงพอใจที่มีต่อโครงการ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (m = 4.62, s= 0.54) และนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการหลังจากสำเร็จการศึกษาแล้ว พบว่า ได้ทำงานในสถานประกอบการที่ฝึกงานมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 47.5 ซึ่งนับว่าโครงการนี้ช่วยให้นักเรียนได้งานทำในสถานประกอบการที่มีคุณภาพมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นิรุตต์ บุตรแสนลี. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีที่มุ่งเน้นประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม, ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ประจวบ แก้วเขียว. (2558). การพัฒนาการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของวิทยาลัยสารพัดช่างสระบุรี. มิถุนายน. รายงานการประชุมสถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา.

ปาลีรัฐ มานะเลิศ. (2559). การประเมินหลักสูตรทวิศึกษา (ม.6 ควบคู่ ปวช.) โรงเรียนมัธยมตากสินระยอง โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPP Model. รายงานการวิจัย, โรงเรียนมัธยมตากสินระยอง.

วิทยาลัยเทคนิคอุทัยธานี. (2562). โครงการความร่วมมือระหว่างวิทยาลัยเทคนิคอุทัยธานีกับสถานประกอบการ, วิทยาลัยเทคนิคอุทัยธานี.

วิทวัฒน์ บูระพันธ์. (2562). การประเมินโครงการห้องเรียนพิเศษ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนราชวินิต มัธยมโดยใช้การประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model). วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัย และประเมินผลการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ศูนย์อาชีวศึกษาทวิภาคี. (2557). หลักเกณฑ์การส่งเสริมและพัฒนาการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีสู่ความเป็นเลิศปี พ.ศ. 2557, ศูนย์อาชีวศึกษาทวิภาคี.

สมคิด พรมจุ้ย. (2552). เทคนิคการประเมินโครงการ. พิมพ์ครั้งที่ 6. ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม, จตุพร ดีไซน์.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2559). คู่มือการจัดทำแผนการฝึกอาชีพในสถานประกอบการ. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

สำนักงานโครงการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี. (2549). สรุปผลการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี, สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

สุมาลัย บุญรักษา. (2562). การประเมินโครงการจัดการเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย (ทวิศึกษา) โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 จังหวัดสกลนคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

โสภา แซ่ลี. (2558). การประเมินโครงการคืนครูให้นักเรียนโดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมิน CIPP Model สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (วิจัยและประเมินผลการศึกษา), มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

อมรรัตน์ จันวัฒนะ. (2560). การประเมินโครงการศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจเพื่อการศึกษา วิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 3. รายงานการประเมินโครงการวิทยาลัยอาชีวศึกษา, วิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา.

Best, J.W., (1970). Research in education, 3rd ed. Prentice-Hall.
Stockmann, R., (1999). The Implementation of Dual Vocational Training Structures in Developing Countries: An Evaluation of Dual Project Assisted by the German Agency for Technical Cooperation. International Journal of Sociology, 29(2), 29-65, Mar.

Stufflebeam, Daniel L., (1974). Daniel Educational Evaluation and Decision Making Itasca II, Peacock Publishers, Inc.,