การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาเพื่อส่งเสริม ทักษะการคิดเชิงคำนวณของผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
Main Article Content
บทคัดย่อ
จุดมุ่งหมายของงานวิจัยนี้ คือ การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงคำนวณและผลของการจัดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้นี้ที่มีต่อทักษะการคิดเชิงคำนวณของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มที่ศึกษาคือ ผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่ง ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 30 คนที่เรียนรายวิชาวิทยาการคำนวณในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้และกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษา เพื่อพัฒนาการคิดเชิงคำนวณของผู้เรียน 2) อนุทินของผู้เรียน และ 3) แบบวัดการคิดเชิงคำนวณ การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ระยะแรกเป็นการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้และกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีจุดมุ่งหมาย เพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงคำนวณของผู้เรียน ระยะที่ 2 เป็นการนำกิจกรรมการเรียนรู้ไปทดลองใช้กับกลุ่มที่ศึกษาตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่ได้พัฒนาขึ้น ระยะที่ 3 เป็นการประเมินประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อทักษะการคิดเชิงคำนวณของผู้เรียน ผลการวิจัยพบว่า กิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นทำให้ทักษะการคิดเชิงคำนวณของผู้เรียนสูงขึ้น เนื่องจากการจัดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้นี้ท้าทายผู้เรียนด้วยปัญหาในชีวิตจริง เพื่อให้ผู้เรียนสืบเสาะหาความรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์มาใช้ในการแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ โดยการย่อยปัญหา หารูปแบบของปัญหา คิดเชิงนามธรรม และพัฒนาอัลกอริทึมมาใช้ในการเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหาในชีวิตจริงเหล่านั้น กิจกรรมการเรียนรู้นี้จึงสามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาเพื่อพัฒนาการคิดเชิงคำนวณได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
อยู่ระหว่างการปรับปรุง (ลิขสิทธิ์และการรับผิดชอบ)
References
ชยการ คีรีรัตน์. (2562). การใช้กระบวนการแก้ปัญหาและโปรแกรม App Inventor พัฒนาทักษะคิดเชิงคำนวณ(Computational Thinking: CT) สำหรับผู้เรียนระดับมัธยมศึกษา. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 47(2), 31-47.
พิเชฐ ศรีสังข์งาม. (2561) การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาแบบวัฏจักรสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นผสานการออกแบบทางวิศวกรรม เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารวิชาการ Verdian E-Journal, 11(2), 2448-2462.
ภาสกร เรืองรอง, รุจโรจน์ แก้วอุไร, ศศิธร นาม่วงอ่อน, อพัชชา ช้างขวัญยืน และศุภสิทธิ์ เต็งคิว. (2561) Computational Thinking กับการศึกษาไทย. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 10(3), 322-330.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตโต). (2561). ถ้าเก่งจริงต้องทำให้คนทั้งหลายมีความสุข. สืบค้น 2 พฤษภาคม 2561,จาก https://wwwyoutube.com/watch?v=5mvw_SM6AC.
ศุภวัฒน์ ทรัพย์เกิด. (2559). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างการคิดเชิงประมวลผลด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแบบสะเต็มศึกษาวิชาการโปรแกรมและการประยุกต์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอนุกูลนารี. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ยืน ภู่วรวรรณ. (2562). ทำไมต้องให้เด็ก และเยาวชนเรียนการเขียนโปรแกรม. สืบค้น 25 กันยายน 2562, จาก https://www.facebook.com/permalinkphp?storyfbid=10207313235846793&id=1162233576.
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560)
BBC. (2562). What is computational thinking ?. สืบค้น 25 กันยายน 2562, จาก http://www.bbc.co.uk/ Education/guides/zp92mp3/revision.
Jeannette M. Wing. (2562). Computational Thinking. สืบค้น 25 กันยายน 2562 จากhttps://www.cs.cmu. edu/~15110s13/Wing06-ct.pdf
Jose-Manuel Saez-Lopez, Marcos Roman-Gonzalez, Esteban Vazquez-Cano. Visual programming languages integrated across the curriculum in elementary school: A two year case study using “Scratch” in five schools. Computers & Education Journal, 97(c), 129-141
Po-Yao Chao. Exploring students' compu-tational practice, design and performance of problem solving through a visual program-ming environment. Computers & Education Journal, 95(C), 202-215.