ผลของการจัดการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ร่วมกับการสอนเขียนแบบเน้นกระบวนการที่มีต่อความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

ชนาพร คงชาติ
สุวรรณา จุ้ยทอง
พิทักษ์ นิลนพคุณ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ร่วมกับการสอนเขียนแบบเน้นกระบวนการ และ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังการทดลองระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ร่วมกับการสอนเขียนแบบเน้นกระบวนการกับกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนธัญรัตน์ ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 2 กลุ่ม แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 31 คน และกลุ่มควบคุม 35 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ร่วมกับการสอนเขียนแบบเน้นกระบวนการ 2) แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทย โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบปกติ และ 3) แบบวัดความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.839 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีแบบกลุ่มเดียวและแบบสองกลุ่มเป็นอิสระต่อกัน


ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ร่วมกับการสอนเขียนแบบเน้นกระบวนการมีความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบซินเนคติกส์ร่วมกับการสอนเขียนแบบเน้นกระบวนการมีความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่านักเรียนที่เรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จริยา แก้วศรีนวม. (2557). การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาไทยตามรูปแบบการเรียนการสอนแบบซินเนคติคส์ เพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, สกลนคร.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2558). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: พี บาลานซ์ ดีไซด์ แอนปริ้นติ้ง.

พัทธมน ภิงคารวัฒน์. (2557). การสอนเขียนแบบเน้นกระบวนการเพื่อพัฒนาความสามารถทางการเขียนความเรียง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และคณะ. (2559). คิดสร้างสรรค์ : สอนและสร้างได้อย่างไร. กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัย ครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ประภาสี สีหอำไพ. (2531). การเขียนแบบสร้างสรรค์. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

ศึกษาธิการ. กระทรวง. กรมวิชาการ. (2544). ความคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

ศึกษาธิการ, กระทรวง. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551, โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). รายงานการติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาตามแผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ.2555-2559), กรุงเทพมหานคร: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สุคนธ์ สินธพานนท์ และคณะ. (2552). พัฒนาทักษะการคิดพิชิตการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เลี่ยงเซียง.

สุวิทย์ มูลคำ. (2547). กลยุทธ์การสอนคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์.

Bruce Joyce. Marsha Weil. with Emily Calhoun. (2000). Models of Teaching (sixth edition), Boston: Allyn and Bacon.

Cohen. A.D. (1990). Language Learning. Boston: Heinle & Heinle.

Louie. A.C. (1994). Improving composition for secondary ELS. Student through the process approach dissertation thesis (Education). San Francisco University. Photocopied.