การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้โดยใช้โปรแกรม PSPP
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ โดยใช้โปรแกรม PSPP ซึ่งเป็นโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติที่ไม่มีค่าใช้จ่าย เหมาะสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้เพื่อให้ได้ผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีความถูกต้องและแม่นยำ สามารถลดความผิดพลาดในการสูตรในการคำนวณค่าสถิติต่าง ๆ รวมทั้งประหยัดเวลา และนำไปสู่การลดความคลาดเคลื่อนที่อาจจะเกิดขึ้นในงานวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย 2 ประเด็นหลักที่เกี่ยวข้อง คือ การพิจารณาในการเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมในการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ได้แก่ ระดับการวัดของตัวแปร และการพิจารณาเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมในการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ และการวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ โดยใช้โปรแกรม PSPP ได้แก่ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย สถิติเชิงปริมาณ การวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์ความเที่ยงของเครื่องมือการวิจัย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
อยู่ระหว่างการปรับปรุง (ลิขสิทธิ์และการรับผิดชอบ)
References
ชัยวิชิต เชียรชนะ. (2560). สถิติสำหรับการวิจัย: แนวคิดและการประยุกต์ใช้. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิพย์สิริ กาญจนวาสี และศิริชัย กาญจนวาสี. (2559). วิธีวิทยาการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: ทรีบีการพิมพ์และตรายาง.
เทียนแก้ว เลี่ยมสุวรรณ. (2558). PSPP: โปรแกรมทางเลือกในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการวิจัย. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร. 5(2). หน้า 118 – 125.
ปิยะธิดา ทองอร่าม. (2561). การวิเคราะห์สถิติเพื่อการวิจัยโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์. กรุงเทพมหานคร:
บริษัทแดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.
ไพศาล วรคำ. (2559). การวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 8. มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.
วรรณี แกมเกตุ. (2555). วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริชัย กาญจนวาสี, ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์ และดิเรก ศรีสุโข. (2559). การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: บุญศิริการพิมพ์.
Best, J. and Kahn, J.V. (2014). Research in education. England: Pearson Education Limited.
Kerlinger, F.N. and Lee, H.B. (2000). Foundations of Behavioral Research. Singapore: Thomson Learning, Inc.