การใช้ Google Classroom ในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาการจัดการสุขภาวะชุมชน สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาพัฒนาสังคม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้ Google Classroom ในรายวิชาการจัดการสุขภาวะชุมชน สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาพัฒนาสังคม (2)เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาสาขาวิชาพัฒนาสังคม ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอน โดยใช้ Google Classroom ในรายวิชาการจัดการสุขภาวะชุมชน สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาพัฒนาสังคม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ที่เรียนภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ (1) Google Classroom (ชั้นเรียนออนไลน์) 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาการจัดการสุขภาวะชุมชน และ 3) แบบประเมินการจัดการเรียนการสอนตามความคิดเห็นของนักศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที
ผลการวิจัย พบว่า 1) การสอนโดยใช้ระบบจัดการเรียนการสอนออนไลน์ Google Classroom ในรายวิชา การจัดการสุขภาวะชุมชน มีผลการเรียน ผ่านเกณฑ์ประเมิน คิดเป็นร้อยละ 100 ของคะแนนเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้น ส่วนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนมีความแตกต่างกัน โดยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนการสอนผ่าน Google Classroom ในรายวิชาการจัดการสุขภาวะชุมชนสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาพัฒนาสังคม พบว่านักศึกษามีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก (xˉ = 4.15, S.D. = .65)ทั้งนี้ควรมีการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนในสภาพแวดล้อมที่เสมือนจริงที่หลากหลายในสถานการณ์ปัจจุบัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
อยู่ระหว่างการปรับปรุง (ลิขสิทธิ์และการรับผิดชอบ)
References
จักรพงษ์ พร่องพรมราช. (2562). รายการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป รายวิชาสุขศึกษา เรื่อง การเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบคู่คิดคู่สร้าง (Think Pair Share) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ, 45(2), 33-45.
จิรัชยา เจียวก๊ก (2563). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการจัดการสุขภาวะชุมชน เรื่องการจัดการระบบสุขภาพ โดยวิธีการเรียนรู้แบบซิปปา สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาพัฒนาสังคม. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.
จิรัชยา เจียวก๊ก, สวัสดิ์ ไหลภาภรณ์ และนวพล แก้วสุวรรณ. (2563). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้วิจัยเป็นฐานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาการศึกษาอิสระและการสัมมนาของนักศึกษาสาขาวิชาพัฒนาสังคม. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 15(1): 104-118.
ฉันท์ทิพย์ สีลิตธรรม และพรเพ็ญ เอกเอี่ยมวัฒนกุล. (2559). การศึกษาระดับความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนโดยผ่านกูเกิลคลาสรูมของนักศึกษาวิทยาลัยพณิชยการธนบุรี. วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. 1(1): 20-25.
บุญทิพย์ สิริธรังศรี. (2563). การจัดการเรียนการสอนออนไลน์สู่กรอบมาตรฐานวิชาชีพการสอนและ สนับสนุนการเรียนรู้ระดับอุดมศึกษา. The Journal of Chulabhorn Royal Academy, 2(3): 1-17
ภาสกร เรืองรอง. (2558). การใช้เทคโนโลยี Google Apps ในการพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน (The use of Google Apps in the development of innovative Teaching). ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ศันสนีย์ เลี้ยงพานิชย์. (2555). การศึกษาผลสัมฤทธิ์และความพึงพอใจจากการใช้เว็บเครือข่ายสังคมเป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์. วารสารวิจัย มข. 17(1): 141-152.
สุชาดา เกตุดี. (2564). การประยุกต์ใช้ Google Classroom สำหรับการเรียนการสอนออนไลน์ในยุคโควิด-19. ในการประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 7 “วิถีพุทธ วิถีชุมชน รากฐานชีวทัศน์เชิงสังคมล้านนาในสังคมวิถีใหม่”. วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564. หน้า 331-341. ลำพูน : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เสมา สอนประสม. (2559). ศึกษาความพึงพอใจในการใช้คลาสรูมในวิชาฟิสิกส์ 1 สำหรับนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์. ในการประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2559, 1340-1347.
Iftakha, S. (2016). GOOGLE CLASSROOM: WHAT WORKS AND HOW?. Journal of Education and Social Sciences. 3(2): 12-18.
Jakkaew, P., & Hemrungrote, S. (2017). The use of UTAUT2 model for understanding student perceptions using Google Classroom: A case study of introduction to information technology course. The International Conference on Digital Arts, Media and Technology 2017: 11- 17.
Joo, Y.J., Lim, K.Y., & Kim, E.K. (2014). Online university students’ satisfaction and persistence: Examining perceived level of presence, usefulness and ease of use as predictors in a structural model. Computers & Education. 57(1): 1654–1664.
Marek, M.W., Chew, C.S., & Wu, W.V. (2021). Teacher Experiences in Converting Classes to Distance Learning in the COVID-19 Pandemic. International Journal of Distance Education Technologies, 19(1): 89-109.
WHO. (2020). Archived: WHO Timeline - COVID-19. Retrieved January 11, 2021, from https://www.who.int/news-room/detail/27-04-2020-who-timeline---covid-19.