การศึกษาความสามารถในการให้เหตุผลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้ การจัดการเรียนรู้แบบเน้นกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ร่วมกับเทคนิค KWDL
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังใช้การจัดการเรียนรู้แบบเน้นกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณร่วมกับเทคนิค KWDL 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังใช้การจัดการเรียนรู้แบบเน้นกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณร่วมกับเทคนิค KWDL กับเกณฑ์ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านหมอ “พัฒนานุกูล” สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 ซึ่งกําลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จํานวน 28 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้การจัดการเรียนรู้แบบเน้นกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณร่วมกับเทคนิค KWDL จํานวน 8 แผน มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด แบบทดสอบวัดความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์เรื่องเลขยกกำลัง มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.79 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังใช้การจัดการเรียนรู้แบบเน้นกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณร่วมกับเทคนิค KWDL สูงกว่าความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ก่อนใช้การจัดการเรียนรู้แบบเน้นกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณร่วมกับเทคนิค KWDL อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) ความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังใช้การจัดการเรียนรู้แบบเน้นกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณร่วมกับเทคนิค KWDL สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็มอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ( = 15.32 จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน และ S.D. = 2.583)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
อยู่ระหว่างการปรับปรุง (ลิขสิทธิ์และการรับผิดชอบ)
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์รู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น
พื้นฐาน พุทธศักราช2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศ ไทย จํากัด.
ยุพิน พิพิธกุล. (2545). การเรียนการสอนคณิตศาสตร์ยุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ : บพิทการพิมพ์.
วัชรา เล่าเรียนดี. (2547). เทคนิควิธีการจัดการเรียนรู้สำหรับครูมืออาชีพ. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร
วลัยพร โล่ห์เส็ง และ สิทธิพล อาจอินทร์. (2558). การศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้รูปแบบ SSCS ร่วมกับเทคนิค KWDL.วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา.
(1) : 142- 152.
สมเดช บุญประจักษ์. (2543). แนวคิดในการพัฒนาศักยภาพทางคณิตศาสตร์.วารสารคณิตศาสตร์. 44(506-508): 33-37.
พชรภรณ์ เชียงสิน และมารุต พัฒผล. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างการคิดอย่างมีวิจารณญาณทางคณิตศาสตร์
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารสาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ. 11(1) : 698-716.
Ogle, Donna. (1986). K-W-L : A Teaching Model Than Develops Active Reading of Expository Text. Reading Teacher.
: 564 - 70.
The National Council of Teacher of Mathematics (NCTM). (1989). Curricu and evaluation Standards for school
mathemayics. Reston, Virginia : NCTM