การจัดการเรียนการสอนภาษาจีนเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านเร็วสำหรับผู้เรียนชาวไทย

Main Article Content

ธัญญารัตน์ มะลาศรี

บทคัดย่อ

ภาษาเป็นเครื่องมือที่มนุษย์ใช้ในการติดต่อสื่อสารและภาษามีความสำคัญต่อมนุษย์เป็นอย่างมาก เพราะนอกจากจะเป็นเครื่องมือในการสื่อสารแล้วภาษายังเป็นเครื่องมือแห่งการเรียนรู้ และการพัฒนาความคิดของมนุษย์ มนุษย์ใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดวัฒนธรรม วิถีการดำเนินชีวิต ดังนั้นในการจัดการเรียนการสอนภาษาจีน ในฐานะภาษาต่างประเทศ จำเป็นต้องพัฒนาทักษะทั้ง 4 ด้าน  ได้แก่ ทักษะการฟัง ทักษะการพูด ทักษะการอ่าน และทักษะการเขียน จากการสำรวจพบว่า การจัดการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทยนั้นนักเรียนและนักศึกษาส่วนใหญ่  ยังขาดทักษะการอ่านเร็ว ซึ่งส่งผลให้ทักษะการอ่านภาษาจีนของผู้เรียนไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร จึงจำเป็นต้องมีการแก้ไขและปรับปรุงเพื่อพัฒนาศักยภาพในการจัดการเรียนการสอนทักษะดังกล่าวอย่างเร่งด่วนเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้เรียน ดังนั้น บทความวิชาการนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะนำเสนอ ความหมายของการอ่านเร็ว วิธีการอ่านเร็ว ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาการอ่านภาษาจีน รวมไปถึงการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านเร็วสำหรับผู้เรียนชาวไทย  ซึ่งคณาจารย์ผู้สอนภาษาจีนสามารถนำแนวคิดดังกล่าวไปปรับใช้ในการจัดการเรียนการสอน ในรายวิชาที่ตนเองรับผิดชอบ เพื่อพัฒนาทักษะด้านการอ่านภาษาจีนของผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพและมีระดับที่สูงขึ้น 

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

นงนุช สามัญฤทธิ์. (2552). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านเร็ว สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอนุบาลนครสวรรค์. ครุศาสตรมหาบัณฑิต หลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ปวีณ์กร คลังข้อง. (2556). วัฒนธรรมวิจัยของครูในจังหวัดปัตตานี. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

พิจิตร ทาทอง. (2556). การเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาไทยของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนโดยใช้ชุดฝึกสมรรถภาพการอ่านเร็วกับการสอนอ่านตามคู่มือครู. ครุศาสตรมหาบัณฑิต หลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

เพ็ญยุภา สุขเอม. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการอ่าน ความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจและความสามารถในการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์.

ภีรนัย โชติกันตะ. (2555). การใช้มิติการทูตเชิงวัฒนธรรมในการเผยแพร่ภาพลักษณ์ของไทยในต่างประเทศ : กรณีศึกษาการจัดเทศกาลวัฒนธรรมไทยในฝรั่งเศส. สถาบันการต่างประเทศเทวะวงศ์วโรปการ กระทรวงการต่างประเทศ.

สมพร นิลคัมภีร์. (2555). เครื่องดักจับสัตว์น้ำ : แนวทางการอนุรักษ์และฟื้นฟูภูมิปัญญาท้องถิ่น บริเวณลุ่มแม่น้ำสงครามตอนบน. หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สิตรา ศรีหรา. (2560). การพัฒนาความสามารถทางการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้กิจกรรมการอ่านแบบกว้าง. ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

สุวิมล เล็กสุขศรี. (2559). การวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุเพื่อพัฒนาสมรรถนะกําลังคนรองรับโลกศตวรรษที่ 21. (ฉบับสรุป) กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

Wang zhimin. (1966). A Comparative Study of Foreign Language Reading Motivation. China Academic Journal Electronic Publshing House.