แนวทางการสร้างเสริมสมรรถภาพของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

Main Article Content

พัชรินทร์ - รุจิรานุกูล
อัฐฉญา แพทย์ศาสตร์
สุรีย์มาศ สุขกสิ

บทคัดย่อ

                การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางการสร้างเสริมสมรรถภาพของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์การสนทนากลุ่ม ผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการวิจัย จำนวน 10 คน ประกอบด้วย ตัวแทนผู้เชี่ยวชาญ/ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการจัดการเรียนรู้ จำนวน 2 คน ตัวแทนครูพี่เลี้ยงนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู จำนวน 3 คน ตัวแทนผู้บริหารคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จำนวน 1 คน ตัวแทนคณาจารย์ผู้สอนเกี่ยวกับวิชาชีพครู จำนวน 2 คน และตัวแทนผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คน  ได้มาโดยวิธีการเจาะจงตามเกณฑ์คุณลักษณะในการคัดเลือกผู้เข้าร่วมการสนทนากลุ่มที่กำหนดไว้ ใช้วิธีการสนทนากลุ่มและวิเคราะห์เนื้อหาตามกรอบสนทนากลุ่มเพื่อหาแนวทางการสร้างเสริมสมรรถภาพของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี


               ผลการวิจัยพบว่า แนวทางในการส่งเสริมสมรรถภาพของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ประกอบด้วย 3 ด้าน คือ ด้านวิชาการความรู้ ด้านทักษะการสอน และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ทางวิชาชีพ โดยให้ความสำคัญในการเร่งพัฒนาด้านวิชาการความรู้ให้มากขึ้น รองลงมาคือ ด้านทักษะการสอน และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ทางวิชาชีพ ตามลำดับ การส่งเสริมพัฒนาสมรรถภาพของนักศึกษาทำได้ด้วยตนเองตามความสนใจของนักศึกษา ร่วมกับทางหลักสูตร  คณะครุศาสตร์ และสถานศึกษาที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ทั้งในลักษณะโครงการฝึกอบรม การจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน การให้ทุนสนับสนุนตามความเหมาะสม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชาริณี ตรีวรัญญู. (2550). การพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนการสอนของครูประถมศึกษาตามแนวคิดการศึกษาผ่านบทเรียน (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎี

บัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.

พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ 2547. (2547, 14 มิถุนายน). ราชกิจจานุเบกษา. 2-3.พัชรินทร์ รุจิรานุกูล และคณะ. (2563). รายงานฉบับสมบูรณ์ เรื่อง

แนวทางการสร้างเสริมสมรรถภาพของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี, จันทบุรี.

พัชรินทร์ รุจิรานุกูล. (2560). การพัฒนาแผนการเรียนรู้แบบจิตตปัญญาศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัย

ราชภัฏ (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

ลัดดา พรมวัน. (2544). การศึกษาสมรรถภาพของครูสังคมศึกษาโรงเรียนเอกชนในจังหวัดขอนแก่น (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น,

ขอนแก่น.

ลินดา นาคโปย. (2555). ปัจจัยเชิงสาเหตุพหุระดับที่ส่งผลต่อคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาครูคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎี

บัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

สมจิต สวธนไพบูลย์ และคนอื่น ๆ. (2545). รายงานการวิจัยและพัฒนารูปแบบการพัฒนาคณาจารย์และชุดเรียนรู้ด้วยตนเองสําหรับการพัฒนาสมรรถนะทาง

วิชาชีพครูโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน. กรุงเทพมหานคร : สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สํานักนายกรัฐมนตรี.

สุพัฒน์ เศรษฐคมกุล. (2556). กิจกรรมสร้างเสริมวินัยในตนเองของนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ โดยการประยุกต์ใช้กระบวนการแนวจิตตปัญญา

ศึกษา (วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.