ปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติโบราณสถานและโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ.2504 (แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ.2535 ) ศึกษากรณี : การใช้อำนาจและบริหารจัดการของฝ่ายปกครองในพื้นที่นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

ปัณณธร หอมบุญมา
ผศ.ธาตรี มหันตรัตน์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัญหาการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองในการอนุญาตหรือไม่อนุญาตก่อสิ่งปลูกสร้างในเขตพื้นที่นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา 2) เพื่อศึกษาถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนและหน่วยงานภาครัฐจากการบริหารจัดการพื้นที่ของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองในเขตพื้นที่นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการศึกษาจากแนวคิด ทฤษฎี กฎหมายที่เกี่ยวข้อง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 หลักธรรมภิบาล และอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ ค.ศ. 1972 ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) โดยนำเสนอข้อมูลด้วยวิธีพรรณนาในแต่ละประเด็นปัญหา ผลการวิจัยพบว่า 1.การใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง โดยอธิบดีกรมศิลปากร ในการอนุญาตหรือไม่อนุญาตก่อสิ่งปลูกสร้างในเขตพื้นที่นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาไม่สอดคล้องกับบทบัญญัติของกฎหมาย การตีความกฎหมายเกินขอบอำนาจที่กฎหมายกำหนด ปราศจากฐานอำนาจตามกฎหมาย ขัดต่อหลักการพื้นฐานของกฎหมายปกครอง 2.การบริหารจัดการขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ ไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 หลักธรรมาภิบาล และอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ ค.ศ.1972 ที่ประเทศไทยได้ลงนามเป็นภาคีสมาชิกไว้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม, (2561). แผนแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนานครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา พ.ศ. 2561-2570, กระทรวงวัฒนธรรม.

วรพจน์ วิศรุตพิชญ์. (2532). การควบคุมการใช้ดุลพินิจทางปกครองโดยองค์กรตุลาการ. วารสารกฎหมายปกครอง เล่มที่ 8 หน้า 37-38.

วรพจน์ วิศรุตพิชญ์. (2540). ข้อความคิดและหลักการพื้นฐานในกฎหมายมหาชน รวมบทความเรื่องเกี่ยวกับกฎหมายปกครองและกฎหมายรัฐธรรมนูญ (พิมพ์ครั้งแรก).กรุงเทพฯ: นิติธรรม. หน้า 102-107

วรเจตน์ ภาคีรัตน์. (2554). กฎหมายปกครองทั่วไป, กรุงเทพมหานคร:นิติราษฎร์, หน้า 79

นันทวัฒน์ บรมานันท์. (2541). บริการสาธารณะในระบบกฎหมายปกครองของฝรั่งเศส, สำนักพิมพ์นิติธรรม,พิมพ์ครั้งที่ 1 มิถุนายน.

วรพรรณ เชื้อสุนทรโสภณ. (2562). สิทธิชุมชนและการมีส่วนร่วมของประชาชนในการคุ้มครองบริเวณพื้นที่มรดกโลกทางธรรมชาติ. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล.ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2562

ธาตรี มหันตรัตน์ และ ปัณณธร หอมบุญมา. (2562). ปัญหาการบริหารจัดการพื้นที่มรดกโลกแบบมีส่วนร่วม นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์ ปีที่ 21 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม)

สุนีย์ ทองจันทร์ และคณะ. (2556). ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายในการบริหารจัดการโบราณสถาน โบราณวัตถุ และ
สถานที่ศักดิ์สิทธิในเกาะเมืองจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.

เรืองฤทธิ์ รักเจริญ. (2557). ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายและการมีส่วนร่วมของประชาชนตาม
พระราชบัญญัติโบราณสถานโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ.2504 (วิทยานิพนธ์
ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. กรุงเทพฯ.

บัณฑิต ถึงลาภ. (2558) ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับโบราณสถานโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
พ.ศ. 2504 การศึกษาอบรมหลักสูตร “ผู้พิพากษาผู้บริหารในศาลชั้นต้น” รุ่นที่ 14 สถาบันพัฒนาข้าราชการ
ฝ่ายตุบาการศาลยุติธรรม สำนักงานศาลยุติธรรม พ.ศ. 2558.

พรพรรณ โปร่งจิตร. (2561). นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาและเมืองบริวาร: การถอดถอนจากการเป็นมรดก
โลก. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.