ทัศนคติและพฤติกรรมการเลือกซื้อเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ของประชาชนในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

ชเนตตี พุ่มพฤกษ์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาพฤติกรรมการซื้อเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของ ประชาชนในเขตพระนครศรีอยุธยา (2) ศึกษาทัศนคติที่มีต่อระดับความสำคัญของปัจจัยทางการตลาดที่ส่งผลต่อการ ตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของประชาชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ประชาชนที่อยู่ในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 400 คน อาศัยกระบวนการวิจัยในการเก็บข้อมูลทัศนคติและพฤติกรรมการเลือกซื้อเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของประชาชนในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว


    ผลการศึกษาพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการซื้อเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มผ่านสื่อสังคมออนไลน์ส่วนใหญ่เป็น การซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นเนื่องจากต้องการความสะดวกสบาย โดยใช้จ่ายประมาณ 500 – 1,000 บาทต่อครั้ง แต่ในขณะเดียวกันกลุ่มตัวอย่างก็มีความกังวลเกี่ยวกับคุณภาพของสินค้าไม่ตรงตามที่ได้ระบุไว้ หรือมีตำหนิ (2) ประชาชนมี ทัศนคติในระดับมากที่สุดด้านความรับรู้ต่อการซื้อเสื้อผ้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2557). คู่มือลัดเปิดร้านค้าออนไลน์ได้ด้วยตัวคุณ. นนทบุรี.

กิตติมา นพทีปกังวาล. (2559). การศึกษาแนวทางการทำตลาดออนไลน์สินค้ากลุ่มผลิตภัณฑ์สำหรับดูแลผิวหน้า : กรณีศึกษา แบรนด์คนไทย. สถาบันพระปกเกล้า.

จุฑารัตน์ เกียรติรัศมี. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อสินค้าผ่านทางแอพพลิเคชั่นออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พันธิตรา กลีบพิพัฒน์. (2556). ปัจจัยส่วนผสมทางการตลาดในการเลือกซื้อเสื้อผ้าสำเร็จรูปในพื้นที่บูทให้เช่าในศูนย์การค้าเสริมไทย จังหวัดมหาสารคาม. วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

พุทธพร ไสว. (2559). เอกสารประกอบการสอน รายวิชา 6113509 การจัดการโลจิสติกสฺและโซ่อุปทาน.สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ณัฐนี คงห่วยรอบ. (2559). การสื่อสารการตลาดแบบดิจิทัลที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์เว็บไซต์ Lazada ในกรุงเทพมหานคร. ปทุมธานี. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ทวีรัชต์ คงรชต. (2561). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมของผู้ใหญ่วัยทำงานในการซื้อของออนไลน์ในจังหวัดนนทบุรี วารสารเกษตรศาสตร์ประยุกต์วารสารธุรกิจ, 12 (16), 40-60.

รัชฎาพร อินทรา. (2559). คู่มือเริ่มต้นขายสินค้าออนไลน์.จาก http://www.ebooks.in.th /18483/ เมื่อ 5กุมภาพันธ์ 2561.

วิภาวรรณ มโนปราโมทย์. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านสังคมออนไลน์ (อินสตาแกรม) ของประชากรในกรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ศิริลักษณ์ โรจนกิจอำนวย. (2561). การรับรู้ความเสี่ยงและความไว้วางใจที่ส่งผลต่อการซื้อผ่านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดน. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์. 40(157), 79-99.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2561). K SME Analysis หน้าร้านสู่ออนไลน์ปรับตัวอย่างไรให้ปัง. กรุงเทพมหานคร. ธนาคารกสิกรไทย.

Dan Zarrella. (2010). The social media marketing book. Canada :O’Reilly Media, Inc.

Kipp Bodnar, Jeffrey L. Cohen. (2011). The B2B Social Media Book: Become a Marketing Superstar by Generating Leads with Blogging, LinkedIn, Twitter, Facebook, Email, and More. Canada : John Wiley & Sons, Inc.

Nancy R. Lee, Philip Kotler. (2015). Social Marketing: Changing Behaviors for Good. Seattle,Washington : SAGE Publications, 2015.
Speedtest Global Index.รายงานการวัดผลความเร็วอินเทอร์เน็ตจากทั่วโลก, สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2560 จาก https://www.brandbuffet.in.th/2017/12/top-10country-fastest-mobile-internet-and-fixed-broadband-speeds/