แนวทางการพัฒนาสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลตามสภาพจริง โดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับครูระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 และ เขต 2

Main Article Content

อมรรัตน์ สนั่นเสียง

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและความต้องการพัฒนาสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลตามสภาพจริงโดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สำหรับครูระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 และ เขต 2 2) สร้างแนวทางการพัฒนาสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลตามสภาพจริง โดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สำหรับครูระดับประถมศึกษา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 และ เขต 2 การวิจัยแบ่งเป็น 2 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 ศึกษาสภาพและความต้องการพัฒนาสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลตามสภาพจริงโดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูสอนระดับประถมศึกษา โดยทำการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จำนวน 190 คน เครื่องมือเป็นแบบสอบถามแบบประมาณค่า 4 ระดับ คือปฏิบัติประจำ บ่อยครั้ง นานๆครั้ง ไม่เคยปฏิบัติ มีค่าความเชื่อมั่น 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติ ความถี่และร้อยละ ขั้นที่ 2 สร้างแนวทางการพัฒนาสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลตามสภาพจริง โดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน เครื่องมือเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้คือ  ค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ผลการวิจัยพบว่า


   1) ครูส่วนใหญ่มีการปฏิบัติด้านการวัดและประเมินผลตามสภาพจริงเป็นประจำมากที่สุด คือ วางแผนจัดกระบวนการเรียนการสอนตามสภาพจริง (64.21%) และมีความเห็นว่าสถานศึกษาใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเป็นประจำ ได้แก่ ร่วมกันเสนอแนะแนวทางในการพัฒนา(47.37%) และมีความต้องการพัฒนาสมรรถนะมากที่สุดคือ ด้านการออกแบบวิธีการวัดและประเมินผล ร้อยละ 51.01


2) แนวทางการพัฒนาสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลตามสภาพจริง ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ การวิเคราะห์หลักสูตรและกำหนดเป้าหมายให้กับผู้เรียน  กำหนดภาระงานการเรียนรู้  กำหนดวิธีการและเกณฑ์การประเมินผลการเรียนรู้  กำหนดลักษณะและดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  และประเมินผลการปฏิบัติภาระงานและการนำเสนอผลการประเมิน ซึ่งมีความเหมาะสมและเป็นไปได้ 21 รายการย่อย เป็นไปไม่ได้ 1 รายการ คือ การประเมิน


จากการนำเสนอผลงานของผู้เรียนต่อสาธารณะชน  สำหรับกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ  ประกอบด้วย 7 รายการ ได้แก่ การรวมกลุ่มครูที่มีความสนใจในวิชาชีพเดียวกัน  วิเคราะห์และระบุปัญหา/สิ่งที่ต้องการพัฒนา  ออกแบบกิจกรรมการแก้ปัญหา  แลกเปลี่ยนเรียนรู้และปรับปรุงแก้ไข  จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในห้องเรียน  สะท้อนการจัดการเรียนรู้ และ สรุปผลการจัดการเรียนรู้และเผยแพร่  มีความเหมาะสมและเป็นไปได้ทุกรายการ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษปกรณ์ สาคร. (2557) รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการวัดและการประเมินผลการศึกษาโดยใช้กระบวนการจัดการความรู้สำหรับครูโรงเรียนขนาดเล็ก. วารสารวิชาการและการวิจัยสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 9.31-3.

คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟิก.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2560) แผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2560 – 2579, กรุงเทพฯ: สํานักงาน เลขาธิการสภาการศึกษา. หน้า 1.

ไพรินทร์ ก้อนเพชร. (2551). ปัญหาการวัดและประเมินผลการเรียนรู้.http://7pairin10 .multiply.com/journal/.
15 กพ.2555. หน้า 1.

อังคณา ตุงคะสมิต. (2550). การพัฒนาระบบการวัดและประเมินผลระดับชั้นเรียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม :กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านนาศรีดงเค็ง. วิทยานิพนธ์การศึกษา ดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. หน้า5-6.

สุวิมล ว่องวาณิช (2550) การประเมินผลการเรียนรู้แนวใหม่ กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์. หน้า 236-237.

วิหาญ พละพร (2557,กรกฏาคม-ธันวาคม) รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการวัดและการประเมินการคิด สำหรับครูระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน วารสารวิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 15(2) : หน้า 74-84.

สุรัติยสพร ทองอ่ำ (2555) รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการวัดและประเมิน ผลตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สำหรับครูในสังกัดเทศบาลนครสวรรค์.สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.