แรงงานผู้สูงอายุกับตลาดแรงงานไทยในยุค 4.0

Main Article Content

นัฐพงษ์ สุขประเสริฐ
ปรีชา คำมาดี

บทคัดย่อ

ผู้สูงอายุ หมายถึง ประชากรที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ขึ้นไป โดยในประเทศไทยมีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นทุก ๆ ปี และมีผู้สูงอายุที่ทำงาน คิดเป็นร้อยละ 34.5 การก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทยมีผลทำให้โครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากผู้สูงอายุเข้ามามีบทบาทในการเป็นกำลังแรงงานเพิ่มขึ้น มีความสำคัญ   ต่อการขับเคลื่อนการเจริญเติมโตทางเศรษฐกิจของประเทศ แม้ด้วยวัยที่สูงขึ้นอาจทำให้ขีดความสามารถในการทำงานบางอย่างลดลง แต่ยังมีอีกหลาย ๆ คุณสมบัติที่ทำให้ผู้สูงอายุยังคงเป็นแรงงานที่มีศักยภาพ นอกจากประเทศไทยจะมี  การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว ประเทศไทยยังอยู่บนโมเดลเศรษฐกิจ ประเทศไทย 4.0 ด้วย ซึ่งมีแรงงานเป็นองค์ประกอบหลักในการขับเคลื่อน แต่ประเทศไทยต้องเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ในขณะที่กำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ดังนั้นแรงงานผู้สูงอายุจึงเป็นกลุ่มแรงงานที่มีศักยภาพเพียงพอที่สามารถพัฒนาได้ ถึงแม้ว่าแรงงานผู้สูงอายุจะมีข้อจำกัดในการทำงานบางประการ แต่ก็มีทักษะหลายประการที่มีความได้เปรียบ เพียงแค่  ผู้จ้างงานจะกำหนดบทบาทหน้าที่ให้เหมาะสม

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมการจัดหางาน. (2561). อนาคตตลาดแรงงานไทยในยุค 4.0. กรุงเทพฯ : กระทรวงแรงงาน.

ธาดา ราชกิจ. (2562). ทิศทางตลาดแรงงานผู้สูงวัย และแนวทางการเตรียมตัวพัฒนาตนเองสำหรับผู้สูงอายุ. สืบค้นจาก https://th.hrnote.asia/tips/190613-old-people-prepare-agingsociety/.

ประชาไท. (2561). ก.แรงงาน จับมือรัฐ-เอกชน หนุนจ้างงานผู้สูงอายุ ตั้งเป้าแสนคน. สืบค้นจาก https://prachatai.com/journal/2019/02/81206.

ปรีชา คำมาดี, วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์ และจิราวรรณ คงคล้าย. (2560). การจัดการแรงงานผู้สูงอายุในประเทศไทย: ปัจจัยเชิงสาเหตุและผลลัพธ์. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 12 (2), 23-34.

ไพลิน จินดามณีพร. (2561). แนวทางการจ้างแรงงานสูงอายุในสถานประกอบการ. กรุงเทพฯ : วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2558). แรงงานสูงวัยคลื่นลูกใหม่ขับเคลื่อนอนาคตไทย. กรุงเทพฯ : เป็นไท.

สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดตาก. (2562). รายงานพิเศษ โครงการบ่มเพาะนักประดิษฐ์เชิงนวัตกรรม ไทยแลนด์ 4.0 จังหวัดตาก. สืบค้นจาก http://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG191001142756133.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.). (2561). พนักงานวัยเก๋า คลื่นลูกใหม่ตลาดแรงงาน.
สืบค้นจาก https://www.smeone.info/software download--detail/4778.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2562). สรุปผลที่สำคัญการทำงานของผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ :
สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

สุรชัย เทียนขาว. (2561). การผลิตแรงงานฝีมือ เพื่อรองรับ Thailand 4.0. สืบค้นจาก
https://www.matichon.co.th/columnists/news_1281344.

Chen, J., et al. (2010). Factors related to well-being among the elderly in urban China focusing
on multiple roles. BioScience Trends, 4 (2), 61-71.

Isabel, R., et al. (2015). Aging workers’ learning and employability. Retrieved from
https://www.researchgate.net/publication/283803866_Aging_Workers'Learning_and_
Employability).