อีสานบ้านเฮา : พินิจสารคดีในมุมมองการวิจารณ์เชิงนิเวศ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
สารคดีเรื่อง อีสานบ้านเฮา ของ วีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง นำเสนอกระบวนทัศน์เชิงนิเวศในลักษณะผลิตซ้ำวาทกรรมมนุษย์เป็นผู้ทำลายธรรมชาติ ด้วยเหตุนี้มนุษย์ต้องมีหน้าที่ฟื้นฟูและอนุรักษ์ธรรมชาติ ผ่านการนำเสนอภาพของอีสานตามประหวัดที่ผลิตซ้ำวาทกรรมมนุษย์พึ่งพาอาศัยธรรมชาติในการดำรงชีวิต อันเชื่อมโยงกับ
การปลูกฝังจิตสำนึกเชิงนิเวศผ่านเรื่องราว ตำนานที่ประกอบสร้างธรรมชาติในฐานะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งแสดงถึงความสัมพันธ์ที่เป็นหนึ่งเดียวกันระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติในอดีต แต่เมื่อโลกาภิวัตน์นำพาความเจริญเข้ามาในพื้นที่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติเป็นอื่นต่อกัน นับเป็นการผลิตซ้ำวาทกรรมที่มนุษย์เป็นผู้ทำลายธรรมชาติอันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของสังคม ในขณะเดียวกันก็กระตุ้นจิตสำนึกของมนุษย์ให้เห็นความสำคัญของธรรมชาติ ทั้งนี้ การนำสารคดีเรื่องอีสานบ้านเฮาเป็นหนึ่งในหนังสืออ่านนอกเวลาของนักเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจึงเป็นการใช้วรรณกรรมเป็นเครื่องมือในการปลูกฝังจิตสำนึกเชิงนิเวศให้แก่เยาวชนได้อย่างแยบยล
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
อยู่ระหว่างการปรับปรุง (ลิขสิทธิ์และการรับผิดชอบ)
References
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (13 มกราคม 2565). รายชื่อ 100 หนังสือดีสำหรับเด็กและเยาวชน ประจำปี 2560. สืบค้น จาก http://culture.go.th/culture_th/images/akasit/05-181060.pdf
เกศินี จุฑาวิจิตร. (2557). การเขียนสร้างสรรค์ทางสื่อสิ่งพิมพ์ : Idea ดี ๆ ไม่มีวันหมด. พิมพ์ครั้งที่ 2. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
ขวัญชนก นัยจรัญ. (2564). วรรณกรรมวิจารณ์. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
ดารินทร์ ประดิษฐ์ทัศนีย์. (2559). พินิจปัญหาสิ่งแวดล้อมผ่านมุมมองวรรณกรรมอเมริกันร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธัญญา สังขพันธานนท์. (2556). วรรณคดีสีเขียว กระบวนทัศน์และวาทกรรมธรรมชาติในวรรณคดีไทย. ปทุมธานี:สำนักพิมพ์นาคร.
พชรวรรณ บุญพร้อมกุล. (2562). “Ecocriticism นิเวศวิจารณ์: วรรณกรรม ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม โลก”, นววิถี วิธีวิทยาร่วมสมัยในการศึกษาวรรณกรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศยาม, 375 – 337.
วีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง. (2555). อีสานบ้านเฮา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สารคดี. สำนักพิมพ์สารคดี. (13 มกราคม 2565). แนะนำหนังสือรางวัลและหนังสืออ่านนอกเวลา (สพฐ.) โดยสำนักพิมพ์สารคดีและสำนักพิมพ์เมืองโบราณ. สืบค้นจาก https://www.sarakadee.com/2015/06/03/recommended-book/