การจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ที่ช่วยยกระดับการมีส่วนร่วม และ ศักยภาพการท่องเที่ยวของชุมชนในจังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

Krisada Chienwattanasook

บทคัดย่อ

               การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) อิทธิพลของการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ที่มีผลต่อศักยภาพการท่องเที่ยวของชุมชน 2) อิทธิพลของการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของชุมชน และ 3) อิทธิพลของการมีส่วนร่วมของชุมชนที่มีผลต่อศักยภาพการท่องเที่ยวของชุมชนในจังหวัดปทุมธานี ในระหว่างเดือน มกราคม-ธันวาคม พศ. 2564 ประชากรคือนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มาเยี่ยมเยือนจังหวัดปทุมธานี จำนวน 114,988 คน กำหนดขนาดตัวอย่างที่เพียงพอต่อการประมาณค่าและการใช้สถิติตามสูตรคำนวณของ  Hair et al. (2010) ผู้วิจัยดำเนินการเก็บข้อมูลจากนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มาท่องเที่ยวในจังหวัดปทุมธานี ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 290 ราย เครื่องมือที่ใช้มีการทดสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ราย และหาค่าความเชื่อมั่นแล้ว สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เส้นทาง และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน


               ผลการวิจัยพบว่า


  1. ศักยภาพการท่องเที่ยวของชุมชนในจังหวัดปทุมธานีเกิดจากอิทธิพลรวมของการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (TE=0.821) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ มีค่าอำนาจการพยากรณ์ร้อยละ 80.80

  2. การจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ยังมีอิทธิพลรวมต่อการมีส่วนร่วมของชุมชน (TE=0.820) มีค่าอำนาจการพยากรณ์ร้อยละ 65.30 (3) ศักยภาพการท่องเที่ยวของชุมชนในจังหวัดปทุมธานีเกิดจากอิทธิพลรวมของการมีส่วนร่วมของชุมชน (TE=0.606)

  3. เมื่อพิจารณาศักยภาพการท่องเที่ยวของชุมชน ปัจจัยที่มีความสำคัญที่สุดได้แก่ ความดึงดูดของแหล่งท่องเที่ยว (λy1) สำหรับส่วนการมีส่วนร่วมของชุมชน ปัจจัยที่มีความสำคัญที่สุดได้แก่ การมีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผล (λy9) และสำหรับการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ปัจจัยที่มีความสำคัญที่สุดได้แก่ การมีประสบการณ์ตรงในพื้นที่ท่องเที่ยว (λX2)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการท่องเที่ยว. (2561). รายงานอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทยในปี พ.ศ.2559. สืบค้นใน https://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=497

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562). Tourism Statistics 2019. สืบค้นใน. https://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=521

กิตติศักดิ์ กลิ่นหมื่นไวย. (2559). ศักยภาพและแนวทางการจัดการท่องเที่ยวชุมชนลำปางหลวง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ สำนักวิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 9(2), 1-11.

ทิพย์วดี โพธิ์สิทธิพรรณ (2556).การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. FEU Academic Review, 6(2), 45-48.

ธนรัตน์ รัตนพงศ์ธระ ทรงวิทย์ เจริญกิจธนลาภ และ ธารนี นวัสนธี. (2560). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ชุมชนอโยธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 5(2), 8-16.

ประภัทร สุทธาเวศ. (2550). วิวัฒนาการและพัฒนาการการท่องเที่ยว. ปทุมธานี: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยรังสิต.

ปิรันธ์ ชิณโชติ. (2559). รูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของสวนผึ้ง. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts), 9(1), 250-268.

มตต์ เมตต์การุณจิต. (2553). การบริหารจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม: ประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และราชการ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บุ๊คพอยท์.

รัชมงคล ทองหล่อ ภัทราวรินทร์ จุยกระจาย ววรวรรณ แสงอมร ศิริพงษ์ พจนารถ และหทัยชนก บัวงาม.(2562).การใช้นวัตกรรมการมีส่วนร่วมทางสังคมในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา : ชุมชนบ้านถ้ำเสือ อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี.Veridian E-Journal,Silpakorn University.12 (3) .157-182.

ราณี อิสิชัยกุล. (2557). การจัดการการท่องเที่ยวเฉพาะทาง. นนทบุรี.มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วิทยา ชินบุตร. (2561). การพัฒนาทรัพยากรท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดปทุมธานีเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวจากประชาคมอาเซียน. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 8(1), 75-89.

สัญญา ฉิมพิมล วรพงศ์ ภูมิบ่อพลับ และศิรวิทย์ ศิริรักษ์.(2562). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความภักดีในการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์ กรณีศึกษา กลุ่มจังหวัดอันดามัน .Veridian E-Journal,Silpakorn University.12 (1) .331-350

องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. (2560). การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ 2560. กรุงเทพฯ: งานองค์ความรู้ สำนักบริหารยุทธศาสตร์. อพท.

อิสระพงษ์ พลธานี และ อุมาพร บุญเพชรแก้ว.(2561). การศึกษาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเกาะเต่า จังหวัดสุราษฏร์ธานี เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร.38(5). 18-39.

Cornwall, A. (2008). Unpacking ‘Participation’: models, meanings and practices. Community Development Journal, 43(3), 269–283.

Cronbach, L. J. (1974). Essential of Psychological Testing. New York: Harper & Row.

Cohen, J. M., & Uphoff, N. T. (1980). Participation place in rural development: Seeking clarity through specificity, world development. New York: Cornell University.

Dickman, S. (1996). Tourism: An introductory text. Sydney: Hodder Education.

Greenwood, J. B. (2006). Sustainable development in a tourism destination context: a Plimsoll model of sustainability in Tyrrell County. North Carolina. Larry Gustke and Gene Brothers.

Hair, J., Black, W., Babin, B., & Anderson, E. (2010). Multivariate data analysis (7th ed.). London: Pearson Education Limited.

Jaafar, M. Rasoolimanesh, S. M. and Ismail, S. (2017). Perceived Sociocultural Impacts of Tourism and Community Participation: A Case Study of Langkawi Island. Tourism and Hospitality Research, 17(2), 2017, Available at SSRN: https://ssrn.com/abstract=3192000

Koograsang, A. Karnjanakit, S. and Sukonthasab, S. (2019). The Gastronomic Creative Tourism Management Guidelines: Dating Back to the Past, Gastronomy along the Laos Vientiane Migration Route in Northeast Thailand. PSAKU International Journal of Interdisciplinary Research, 8(Special Issue), 11-24. Available at http://dx.doi.org/10.2139/ssrn.3546288

Richards, G. (2011). Creativity and Tourism the State of the Art. Annals of Tourism Research 38, 4: 1225–1253.

Richards, G., & C. Raymond. (2000). Creative tourism. ATLAS News, 23, 16–20.

Somnuxpong, S. (2017). Trends and Tourism marketing 4.0 in Thailand. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 10(3), 2055-2068.

Suvannin, W. (2014). A study of cultural tourism potentiality of Buddhist templesin Pathum thani province. Journal of Graduate Studies Valaya Alongkron Rajabhat University, 8(3). 63-82.

Szymanski. M., Whitewing, L, & Colletti, J. (1998). The Use of Participatory Rural Appraisal Methodologies to Link Indigenous Knowledge and Land Use Decisions Among the Winnebago Tribe of Nebraska. Indigenous Knowledge and Development Monitor, 6(2), 3-6.

Tan, S. K., Kung. S. F., & Luh D.B., (2013). A model of ‘creative experience’ in creative tourism. Annals of Tourism Research, 41, 153-174,

Trukhachev A. (2015). Methodology for Evaluating the Rural Tourism Potentials: A Tool to Ensure Sustainable Development of Rural Settlements. Sustainability, 7(3), 3052-3070.

Wurzburger, R., T. Aageson, A. Pattakos, & S. Pratt. (2009). A global conversation. How to provide unique creative experiences for travelers worldwide. Santa Fe: Sunstone Press

Yoon,Y. (2002). Development of a Structural model for Tourism Destination Competitiveness Form Stakeholders perspectives. Thesis (Ph.D.). Polytechnic Institute and State University, Switzerland

Zhang, Z., Plathong, S., Sun, Y., Guo, Z., Munnoy, T., Ma, L., Jantharakhantee, C., & Tanboot, L. (2020). Analysis of the island tourism environment based on tourists' perception-A case study of Koh Lan, Thailand. Ocean & Coastal Management, 197, 105326. https://doi.org/10.1016/j.ocecoaman.2020.105326.