การพัฒนาโปรแกรมกิจกรรมเคลื่อนไหวที่ส่งเสริมทักษะทางปัญญาของนักศึกษาครู

Main Article Content

ชนกานต์ ขาวสำลี
จิราภรณ์ มีสง่า

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมกิจกรรมเคลื่อนไหวที่ส่งเสริมทักษะทางปัญญาของนักศึกษาครู และเพื่อเปรียบเทียบผลการใช้โปรแกรมกิจกรรมเคลื่อนไหวที่ส่งเสริมทักษะทางปัญญาของนักศึกษาครู ประชากรเป็นนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาพลศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา จำนวน 146 คน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาพลศึกษา ชั้นปีที่ 1 และ 3 รวมจำนวน 60 คน ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มยกกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรมกิจกรรมเคลื่อนไหวที่ส่งเสริมทักษะทางปัญญาของนักศึกษาครู และแบบวัดทักษะทางปัญญา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที (T-Test for Dependent) ผลการวิจัย พบว่า 1. โปรแกรมกิจกรรมเคลื่อนไหวที่ส่งเสริมทักษะทางปัญญาของนักศึกษาครูที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 9 องค์ประกอบ คือ 1) ที่มาและความสำคัญ 2) วัตถุประสงค์ของโปรแกรม 3) เป้าหมายของโปรแกรม 4) รูปแบบและวิธีการพัฒนา 5) โครงสร้างของโปรแกรม 6) เนื้อหา 7) แนวทางการจัดกิจกรรม 8) เทคนิคและเครื่องมือ และ 9) การวัดและประเมินผล   ซึ่งโปรแกรมกิจกรรมเคลื่อนไหวในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ระดับมากที่สุด 2. ผลการใช้โปรแกรมกิจกรรมเคลื่อนไหวที่ส่งเสริมทักษะทางปัญญาของนักศึกษาครู พบว่า หลังการใช้โปรแกรมกิจกรรมเคลื่อนไหว นักศึกษาครูมีทักษะ    ทางปัญญาสูงกว่าก่อนใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นฤมล มณีงาม. (2547). การพัฒนาโปรแกรมสร้างจิตสำนึกเกี่ยวกับการประหยัดพลังงานตามหลักการเรียนรู้ด้วยการรับใช้สังคมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

นริศรา เสือคล้าย. (2550). การวิจัยและพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อพัฒนาความสามารถทางการคิดของนักเรียนชั้นประถมศึกษา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

นิภาภรณ์ ซ้ายโพธิ์กลาง และ ศิวะกรณ์ กฤษสุวรรณ. (2561). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการบริหารจัดการชั้นเรียนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 24(2), 80-95.

เบญจวรรณ ถนอมชยธวัช, ผ่องศรี วาณิชย์ศุภวงศ์, วุฒิชัย เนียมเทศ, และ ณัฐวิทย์ พจนตันติ. (2559). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21: ความท้าทายในการพัฒนานักศึกษา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 3(2), 208-222.

ปรียะดา ภัทรสัจจธรรม. (2559). การออกแบบการเรียนการสอนเชิงระบบโดยใช้แบบจำลอง ADDIE: การพัฒนาการคิดแบบเมตาคอกนิชันของนักศึกษาพยาบาล. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 13(2), 6-16.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์, สุมน อมรวิวัฒน์, ทิศนา แขมมณี, สิริภักตร์ ศิริโท, ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์, ศรเนตร อารี โสภณพิเชฐ, อุทัย ดุลยเกษม, พิมพันธ์ เดชะคุปต์, และ พรรณี เกษกมล. (2558). ศาสตร์การคิด : รวมบทความเรื่องการคิดและการสอนคิด. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

วนิษา เรซ. (2550). อัจฉริยะสร้างได้. กรุงเทพฯ: ไทยยูเนี่ยนกราฟฟิกส์.

วราภรณ์ โพธิ์ศรีประเสริฐ. (2545). การพัฒนาโปรแกรมการปรับปรุงการพูดสำหรับครูปฐมวัยโดยใช้เทคนิค

การละคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ศิริเดช สุชีวะ และคณะ. (2559). ทักษะทางปัญญาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา: การพัฒนาโมเดลและ เครื่องมือวัดออนไลน์ (รายงานการวิจัย). สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(องค์การมหาชน), กรุงเทพฯ.

สถาบันวิทยาการการเรียนรู้. (2550). การสอนแบบ Brain-Based Learning. สถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา, กรุงเทพฯ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (6 มีนาคม 2562). กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552. สืบค้นจาก http://www.mua.go.th/.

สุดาเรศ แจ่มเดชะศักดิ์. (2543). การพัฒนาโปรแกรมสิ่งแวดล้อมศึกษาสำหรับเด็กวัยอนุบาลโดยใช้แนวการสอนแบบผูกเป็นเรื่องราว (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

Kurt, S. (2019). An Introduction to the Addie Model: Instructional Design: The Addie Approach. lllinois: Independently Published.

Gardner, H. (2000). Intelligence Reframed: multiple intelligences for the 21st century. New York: Basic Book.