วิธีประเมินผลการดำเนินงานของของสหกรณ์ออมทรัพย์โดยใช้แนวคิดมูลเพิ่มเชิงเศรษฐศาสตร์ กรณีศึกษา สหกรณ์ออมทรัพย์ ธพว. จำกัด

Main Article Content

ธัชวีร์ ตระกูลเผด็จไกร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานของสหกรณ์ออมทรัพย์ ธพว. จำกัด และเพื่อเปรียบเทียบการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานโดยใช้วิธีมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐศาสตร์ (EVA) และการใช้เกณฑ์อัตราส่วนทางการเงิน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงปริมาณ โดยข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาประกอบไปด้วยข้อมูลทุติยภูมิซึ่งเกิดจากรายงานประจำปีของสหกรณ์ออมทรัพย์ ธพว. ปี 2554 – 2562


โดยผลการศึกษาพบว่า การประเมินผลการดำเนินงานโดยใช้ EVA มีค่าเป็นบวก และมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น สอดคล้องกับทิศทางของกำไรสุทธิในงบการเงิน ในส่วนของการเปรียบเทียบ EVA ร่วมกับเกณฑ์อัตราส่วนทางการเงินในด้านต่างๆ พบว่าอัตราส่วนทางการเงินในแต่ละด้านมีทั้งที่เคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกับ EVA และเคลื่อนไหวไม่ไปในทิศทางเดียวกับ EVA ซึ่งส่วนใหญ่มาจากจุดประสงค์ที่ใช้ในการวัดผลที่แตกต่างกัน ซึ่งทางสหกรณ์ฯสามารถนำการประเมินผลการดำเนินงานโดยใช้ EVA มาประยุกต์ใช้ร่วมกับการวัดผลการดำเนินงานโดยใช้เกณฑ์อัตราส่วนทางการเงินได้ เพื่อเพิ่มมิติในการวิเคราะห์ และการวัดผลการดำเนินงาน อีกทั้งยังช่วยในเรื่องการบริหารจัดการเงินทุนของสหกรณ์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

โกศล ดีศีลธรรม. (2552). การบริหารเพื่อสร้างผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์. Technology Promotion Magazine, (205), 16-20.

ชูฤทัย ผลสุวรรณ. (2544). วิธีประเมินผลการดำเนินงานขององค์กรตามแนวคิด Economic Value Added : EVA กรณีศึกษา : บริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน). (การศึกษาค้นคว้าอิสระเศรษฐศาสตร มหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.

ปราญชลี สุริยมงคล. (2550). แนวทางการพัฒนาระบบการบริหารจัดการองค์กรเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐศาสตร์สำหรับธนาคาร. (การศึกษาค้นคว้าอิสระวิทยา

ศาสตรมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,กรุงเทพมหานคร.

รัตนาวดี อนุสรณ์วงศ์ชัย, นายชีวิน ดีพัฒนา, นายพฤทธิ์ ลี้วิไลกุลรัตน์. (2551). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอัตราผลตอบแทนของหุ้นสามัญของบริษัทกับผลการ

ดำเนินงานของบริษัทโดยใช้ตัววัดผลปฏิบัติงานทางด้านการเงิน EVA. (การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,

กรุงเทพมหานคร.

วรศักดิ์ ทุมมานนท์. (2548). มูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจ. กรุงเทพมหานคร: ธรรมนิติ เพรส.

ศรายุธ แก้วสินธุ์. (2549). วิธีประเมินผลการดำเนินงานขององค์กรตามแนวคิดมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษศาสตร์: กรณีศึกษา สหกรณ์ออมทรัพย์การประปาส่วนภูมิภาค จำกัด.(วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, กรุงเทพมหานคร.

สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย. (2538). กรอบวิชาชีพบัญชีของไทยเป็นฉันใด. วารสาร

วิชาชีพบัญชี, (35), 75-83.

เอกชัย บุญยาทิษฐาน. (2553). การบริหารมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: ส.เอเซียเพรส (1998).