การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากวัสดุพื้นถิ่นเตยหนามจักสานแบบมัดย้อมสำหรับนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซีย ของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรสันติภาพวังพญา อำเภอรามัน จังหวัดยะลา

Main Article Content

อุษณีย์ พรหมศรียา
อัปสร อีซอ
จิราพร เกียรตินฤมล
ชมพูนุท ศรีพงษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกของนักท่องเที่ยว  ชาวมาเลเซีย เพื่อนำผลที่ได้จากการศึกษาพฤติกรรมมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากวัสดุพื้นถิ่นเตยหนามจักสานแบบมัดย้อม แล้วนำผลิตภัณฑ์กลับไปสำรวจความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียที่มีต่อผลิตภัณฑ์ที่พัฒนา  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียกลุ่มละ 400 คน โดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างตามสะดวก  ใช้กระบวนการวิจัยแบบปฏิบัติการ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นการวางแผน ขั้นการปฏิบัติการ ขั้นการสังเกต และขั้นการสะท้อนผล เครื่องมือที่ใช้การวิจัย คือ แบบสอบถาม เพื่อศึกษาพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก   จักสาน และความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียที่มีต่อผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากวัสดุพื้นถิ่นเตยหนามจักสานแบบมัดย้อมที่พัฒนา โดยนำข้อมูลจากแบบสอบถามมาแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย


ผลการวิจัยพบว่า 1) นักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียมีพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจักสานประเภทกระเป๋า ผลิตภัณฑ์บนโต๊ะอาหาร และเครื่องเขียน ลักษณะผลิตภัณฑ์เป็นแบบเซ็ตผลิตภัณฑ์ เซ็ตละ  3 ผลิตภัณฑ์ เน้นโทนสีพาสเทล ต้องการผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ รวมถึงประโยชน์ที่สามารถใช้งานได้จริง โดยวัตถุประสงค์หลักเพื่อซื้อฝากให้บุคคลในครอบครัว 2) ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากวัสดุพื้นถิ่นเตยหนามจักสานแบบ   มัดย้อมสำหรับนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียที่พัฒนา เป็นการนำข้อมูลพฤติกรรมของกลุ่มตัวอย่างมาวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากวัสดุพื้นถิ่นเตยหนามจักสานแบบมัดย้อม ทั้งนี้ยังคงคำนึงถึงความชำนาญของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรสันติภาพวังพญา และภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน ทำให้เกิดเซ็ตผลิตภัณฑ์   3 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ เซ็ตกระเป๋าพาสเทล เซ็ตผลิตภัณฑ์บนโต๊ะอาหารพาสเทล และเซ็ตเครื่องเขียนพาสเทล  3) นักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียมีความพึงพอใจต่อเซ็ตผลิตภัณฑ์บนโต๊ะอาหารพาสเทล โดยมีค่าเฉลี่ยโดยรวมมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 49.00 เนื่องจากมองว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ สะดวกต่อการใช้งาน มีความร่วมสมัย สวยงาม และมีความคิดสร้างสรรค์ ทั้งนี้ยังเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความต้องการในการซื้อมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ด่านตรวจคนเข้าเมืองเบตง. (2563). สรุปจำนวนนักท่องเที่ยวพ.ศ. 2563. สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2563, จาก

https://www.betongimmigration.go.th/index.php.

เทศบาลเมืองเบตง. (2559). แผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปี (พ.ศ.2561 - 2564) เทศบาลเมืองเบตง. ยะลา: กองวิชาการและ

แผนงาน เทศบาลเมืองเบตง จังหวัดยะลา.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2560). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. พิมพ์ครั้งที่ 17. กรุงเทพฯ:

บิสซิเนส อาร์แอนด์ดี.

ปุณฑริกา สุคนธสิงห์. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของกลุ่มอาชีพ: กรณีศึกษากลุ่มอาชีพผลิตภัณฑ์จากผ้าใน

เขตจังหวัดเพชรบุรี. (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์, เพชรบูรณ์.

รอปิยะ เย๊าะลีมา. (2563, 5 พฤศจิกายน). ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรสันติภาพวังพญา อำเภอรามัน จังหวัดยะลา.

[สัมภาษณ์]

วิบูล จันทร์แย้ม. (2551). พฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าที่ระลึกของประชาชนที่มาเที่ยวจังหวัดลพบุรี. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต).

มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, ลพบุรี.

วุฒิชัย วิถาทานัง. (2559). การศึกษาและพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์หัตถกรรมงานจักสานประเภทผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกของตกแต่งและ

เครื่องเรือน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 11(3), 107-119.

ศศิพร ต่ายคำ และ นรินทร์ สังข์รักษา. (2558). การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์เพื่อเพิ่มมูลค่าของวิสาหกิจชุมชนจังหวัดราชบุรี.

วารสารวิชาการ Veridian E-Journal บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 8(1), 606-632.

สยามรัฐออนไลน์. (2563). คนแห่เที่ยวสกายวอล์คทะเลหมอกอัยเยอร์เวงเบตง หลังเปิดให้ขึ้นชมทะลุ 7 หมื่นกว่าราย.

สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2563, จาก https://siamrath.co.th/n/193796.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2562). สรุปสถานการณ์ท่องเที่ยวภายในประเทศ เป็นรายจังหวัด พ.ศ. 2553–2562.

สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2563, จาก http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/17.aspx.

Bakar, A. S., & Othman, A. M. A. (2018, March). Malaysian perceptions towards bemban product design. 7th International conference on Kansei Engineering & Emotion Research 2018. Kuching: Malaysia.

Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques. 3rd ed. New York: John Wiley and Sons, Inc.

Mogindol, S. H., & Bagul, A. H. B. B. P. (2016). Tourists' perceptions about an appealing handicraft.

Tourism, Leisure and Global Change, 1(1), 10-24

Paspirom, G., & Rugwongwan, Y. (2018). A perception study on buying decision factors of Thai fish-

shaped wickerwork (souvenir) between Thais and Malaysian consumers. Environment-Behaviour Proceedings Journal, 3(9), 3-8.