ปัจจัยพยากรณ์ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อหลักสูตรสาธารณสุขชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

Main Article Content

อัจฉรา คำฝั้น

บทคัดย่อ

               การวิจัยแบบผสานวิธีครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยพยากรณ์ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อหลักสูตรสาธารณสุขชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของนักศึกษาต่อหลักสูตรสาธารณสุขชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 3) เพื่อสังเคราะห์ข้อเสนอแนะการดำเนินงานของหลักสูตรสาธารณสุขชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษา จำนวน 140 คน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 20 คน  เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามในเดือนมกราคม ถึงเดือน มีนาคม 2562 การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา  การวิเคราะห์การถดถอยพหุ และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า นักศึกษามีความพึงพอใจต่อหลักสูตรสาธารณสุขชุมชนโดยรวมเฉลี่ยระดับมาก  เมื่อวิเคราะห์อำนาจการพยากรณ์ความพึงพอใจต่อหลักสูตรสาธารณสุขชุมชนของนักศึกษามีตัวแปรที่สามารถอธิบายความผันแปรความพึงพอใจของนักศึกษา 1 ตัวแปรย่อย คือ จำนวนครั้งการเข้าร่วมกิจกรรม (p – value = 0.011) โดยร่วมกันพยากรณ์ความพึงพอใจของนักศึกษาได้ ร้อยละ 48.4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งนี้ผู้มีส่วนได้เสียยังได้เสนอแนะการดำเนินกิจกรรมผ่านผู้เรียน ผู้สอน และรูปแบบการจัดการเรียนการสอน


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองนโยบายและแผน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. (2560). รายงานประจำปี 2560.

โชติมา แก้วกอง. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมกิจกรรมภายในมหาวิทยาลัยของนิสิตระดับปริญญาตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. วารสารสหวิทยาการวิจัย:ฉบับบัณฑิตศึกษา, 7(1) , หน้า 93 – 102.

ธีรศักดิ์ พาจันทร์. (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้การวิจัยเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะใน การวิเคราะห์และวางแผนแก้ไขปัญหา

สาธารณสุขของนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา สาธารณสุขชุมชน วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น. วารสารทันตา

ภิบาล, 28(1), หน้า 47 – 59.

พฤกษ์ เถาถวิล. (2551). บทบาทอาจารย์ที่ปรึกษาในการดำเนินงานโครงการค่ายเรียนรู้คุณธรรมนำชีวิตพอเพียงปี 2551. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการ

อุดมศึกษา.

ภาควิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. (2561). รายงานการประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร ปีการศึกษา 2560.

สามารถ ใจเตี้ย. (2561). ประสิทธิผลกิจกรรมการเรียนรู้แบบโมเดลซิปปาเรื่อง การประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากความเสื่อมสภาพของแหล่งน้ำ.วารสารวิจัย

และพัฒนาหลักสูตร, 8(1), หน้า 220 – 230.

สุพัตรา รักการศิลป์ เอมอร แสวงวโรตม์ ผกามาศ มูลวันดี ฐิติพร วรฤทธิ์ แก้วมณี อุทิรัมย์ และทิพย์สุดา ทาสีดํา. (2559). ความพอใจของนักศึกษาสาขา

บัญชีที่มีต่อหลักสูตรบัญชีบัณฑิตสาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ประจำปีการศึกษา 2558”.วารสารวิชาการ

มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 8(2), หน้า 141 – 151.

สุรัตน์ หารวย มณฑิชา รักศิลป์ ภัทรภร เจริญบุตร ชนฏ์พงศ์ เคลือศิริ และรมณียากร มูลสิน. (2561). ความพึงพอใจของนักศึกษาสาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน

ชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2559 ต่อคุณภาพหลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์บัณพิต สาขาสาธารณสุขชุมชน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ

อุบลราชธานี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 7(1), หน้า 151 – 160.

สํานักมาตรฐานและประเมินผลอุดมศึกษา. (2560). เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2558 และเกณฑ์มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง. พิมพ์ครั้งที่ 1.

กรุงเทพมหานคร: บริษัท วงศ์สว่างพับลิชชิ่ง แอนด์ พริ้นติ้ง จำกัด

อิสรีย์ โชว์วิวัฒนา. (2556). ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อหลักสูตรปริญญาตรีคณะบัญชีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัย

หอการค้าไทย, 33, (ฉบับพิเศษ), หน้า 1-12.

Anderson, L.W. ,Likert scales,. John, D. Keeves, eds, Victoria: Pergamon, 1988.

Cronbach L.J. (1951). “Coefficient Alpha and the Internal Structure of Tests”. Psychometrika, Vol.16,

pp. 297 – 334, Sep.

Krejcie R.V and D.W. Morgan. (1970) “Determining sample size for research activities”. Educational

and Psychological Measurement, Vol. 30, pp.607 – 610, Sep.

Matthew B.M., Michael A.H. and S Johnny. (2014). Qualitative Data Analysis: A Methods Sourcebook

(3 nd ed). Arizona: SAGE Publications, Inc.