การศึกษาการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยวิธีการสอนแบบมีส่วนร่วมในโรงเรียนมูลมังหลวงปู่ชอบ ฐานสโม อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย

Main Article Content

วิชชุพงศ์ วรศาสตร์กุล

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องการศึกษาการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยวิธีการสอนแบบมีส่วนร่วมในโรงเรียนมูลมังหลวงปู่ชอบ ฐานสโม อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ปีการศึกษา 2561 จำนวน 90 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์ แบบสังเกตการณ์ และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) นำเสนอข้อมูลโดยพรรณนาเชิงวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านการเขียนลักษณนามผิด พบนักเรียนเขียนลักษณนามผิดจำนวน 149 คำ สาเหตุที่เขียนผิดจากการการเลียนแบบภาษาในสังคมออนไลน์ และมีนักเรียนบางคนพื้นฐานทางหลักภาษาไม่ดี เนื่องจากนักเรียนมาจากหลายพื้นที่ 2) ด้านการเขียนสะกดคำผิด  พบว่านักเรียนเขียนสะกดคำผิดจำนวน 49 คำ สาเหตุที่สะกดคำผิดบ่อย ๆ และเขียนผิดเพราะเกิดการจดจำตัวอย่างที่สะกดผิดหรือการจำที่เทียบคำผิด 3) ด้านการเขียนการใช้คำผิดความหมาย พบนักเรียนเขียนผิดความหมาย จำนวน 43 คำ แบ่งเป็น 2 ประเด็น 1.การใช้คำผิดความหมาย คือ การใช้คำที่ไม่สื่อความหมายไม่ตรงตามที่ผู้เขียนต้องการหรือทำให้การสื่อสารคลาดเคลื่อน พบจำนวน 34 คำ สาเหตุที่นักเรียนเขียนผิดคือ การประมาท การไม่ตรวจสอบความหมายของคำก่อน เนื่องจากจดจำคำในสังคมออนไลน์  (Social Media) ที่เขียนผิด 2.การใช้คำขัดแย้งกัน คือ การที่นักเรียนใช้คำในประโยคโดยที่ไม่ระมัดระวังอาจทำให้การสื่อสารสับสน หรืออาจทำให้ผู้รับสารเข้าใจผิดในการสื่อสารแต่ละครั้งได้ จากผลการศึกษาและสัมภาษณ์นักเรียนพบประเด็นที่นักเขียนคำขัดแย้งกัน พบจำนวน 10 คำสาเหตุที่เขียนผิดเกิดจากความเข้าใจความหมายของคำผิด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ, กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2545. กรุงเทพมหานคร:องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

ฐะปะนีย์ นาคทรรพ. (2547). ภาษาไทยของเรา. สมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. กรุงเทพฯ: สถาพรบุ๊คส์.

ดวงใจ ไทยอุบุญ. (2543). ทักษะการเขียนภาษาไทย. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญศิริ ภิญญาธินันท์. (2541). ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: สามัคคีสาร.

ประญัติ บุญมะลา. (2550). ผลการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง คำที่สะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยรูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ (4 MAT). วิทยานิพน์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยามหาสารคาม.

พิมล แจ่มแจ้ง. (2542). การเขียนชุดฝึกซ่อมเสริมการเขียนสะกดสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 2. ปริญญาการศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการประถมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2551). เทคนิคการตรวจร้างหนังสือการเว้นวรรค และการใช้เครื่องหมาย.กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

วิเชียร เกษประทุม. (2557). หลักภาษาไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เพิ่มทรัพย์การพิมพ์.

วิชชุพงศ์ วรศาสตร์กุล. (2560). การศึกษาข้อผิดพลาดการเขียนภาษาไทยของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในรายวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. เลย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์. (2542). หลักภาษาไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.

สุรีย์วรรณ เสถียรสุคนธ์. (2553). ข้อบกพร่องในการเขียนภาษาไทยของนักศึกษาจีน : กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

เอมอร ชิตตะโสภณ. (2536). เอกสารการสัมมนา เรื่องการสอนภาษาไทยในฐานะ ภาษาต่างประเทศ. 19- 20 สิงหาคม.

อุปกิตศิลปสาร ,พระยา. (2547). หลักภาษาไทย. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

Harris, David. P. (1969). Testing English as a Second Language. New York : MCG raw – Hill Book Company.