“ศาลรัฐธรรมนูญ” : ศาลยุติธรรมหรือศาลการเมือง

Main Article Content

บุญส่ง ชเลธร

บทคัดย่อ

รัฐธรรมนูญถูกถือว่าเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ที่กฎหมายอื่น ๆ จะ “ขัดหรือแย้ง” มิได้ ดังนั้นเพื่อให้เกิดความชัดเจนว่ามีกฎหมายหรือข้อบัญญัติใด ที่อาจ “ขัดหรือแย้ง” ต่อรัฐธรรมนูญ ก็จึงจำเป็นต้องมี “องค์กร” ขึ้นมาทำหน้าที่พิจารณา ตรวจสอบและตัดสิน ซึ่งในเบื้องต้นมีการจัดตั้ง “คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ” ขึ้นตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๔๘๙  ต่อมาก็มีการเปลี่ยนแปลง เป็น “ศาลรัฐธรรมนูญ” ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540


ในปัจจุบัน “ศาลรัฐธรรมนูญ” ถูกตั้งคำถามถึงความชอบธรรมในการดำรงอยู่ เพราะในขณะที่การจัดตั้งศาล อื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น “ศาลปกครอง” “ศาลทรัพย์สินทางปัญญา” “ศาลยุติธรรม” ”ศาลทหาร” หรือ “ศาลแรงงาน” ต่างก็มีพระราชบัญญัติการจัดตั้งตามกฎหมายขึ้นรองรับทั้งสิ้น แต่ “ศาลรัฐธรรมนูญ” ไม่มี


จึงเกิดคำถามว่าสิ่งที่ “ศาลรัฐธรรมนูญ” ได้พิจารณาตัดสินไปแล้ว จะเป็นความชอบธรรมในทางกฎหมายได้อย่างไร

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กมลชัย รัตนสกาววงศ์. (2538). ศาลรัฐธรรมนูญ และวิธีพิจารณาคดีรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

ชัยวัฒน์ วงศ์วัฒนศาสนต์. (2535). “คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ : บทวิเคราะห์” หนังสือรวมบทความเนื่องในโอกาสครบรอบ 80 ปี ศาสตราจารย์ไพโรจน์ ชัยนาม. กรุงเทพฯ : คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นภดล เฮงเจริญ. (2543). ศาลรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน. จากหนังสือ ศาลรัฐธรรมนูญไทย อดีต ปัจจุบัน อนาคต. กรุงเทพฯ : สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (2542). ศาลรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540. วารสารรัฎฐาภิรักษ์, 40(2)

ปัญญา อุดชาชน. (2556). พระราชบัญญัติอาชญากรสงคราม : รากฐานการกำเนิดศาลรัฐธรรมนูญ. จากวารสาร รัฐสภาสาร, 61(4) . กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

วิษณุ เครืองาม. (2530). กฎหมายรัฐธรรมนูญ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แสวงสุทธิการพิมพ์.

สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ. (2551). 10 ปี ศาลรัฐธรรมนูญไทย : สู่ทศวรรษใหม่ของนิติรัฐไทย. กรุงเทพฯ : สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.

หยุด แสงอุทัย. (2511). คำอธิบายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2511) เรียงมาตรา. กรุงเทพฯ : กรุงสยามการพิมพ์.

อมร จันทรสมบูรณ์. (2535). “ศาลรัฐธรรมนูญ (หรือตุลาการรัฐธรรมนูญ)”. หนังสือครบรอบ 84 ปี ศาสตราจารย์ จิตติ ติงศภัทิย์. กรุงเทพฯ : คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

คณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาศึกษาหลักเกณฑ์และวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 สภาผู้แทนราษฎร. (2563). สืบค้นจาก https://www.bbc.com/thai/thailand-51830580. เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2563.

ไทยรัฐออนไลน์. 21 เมษายน 2563. สืบค้นจาก https://www.thairath.co.th/content/417917 เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2563 .

BBC NEWS : ไทย. 12 มีนาคม 2563. สมชัย ศรีสุทธิยากร. สืบค้นจาก https://www.bbc.com/thai/thailand-51830580 เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2563.

BBC NEWS : ไทย. ๑๒ มีนาคม ๒๕๖๓. รังสิมันต์ โรม. (๒๕๖๓). สืบค้นจาก https://www.bbc.com/thai/thailand-51830580 เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2563.

MGR online. 25 มิถุนายน 25693. สืบค้นจาก https://mgronline.com/politics/detail/9630000065458 เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2563.

TLFR ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน Thai Lawyers for Human Rights. 22 มิถุนายน 2559. สืบค้นจาก https://www.tlhr2014.com/?p=948 เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2563.