ภาระภาษีที่เกิดจากการทำวิจัยของอาจารย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การเสียภาษีเป็นหน้าที่ซึ่งกฎหมายกำหนดให้ผู้มีเงินได้ต้องชำระภาษีให้แก่รัฐ เพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการและพัฒนาประเทศ ดังนั้นหากอาจารย์ผู้ทำวิจัยได้รับเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ที่อาจคำนวณเป็นเงินได้ ย่อมมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อคำนวณเสียภาษีให้ถูกต้อง แต่ภาระภาษีที่เกิดขึ้นกับอาจารย์ผู้ทำวิจัยแต่ละคนอาจมีความแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับลักษณะของความสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้ทุนวิจัยกับผู้รับทุนวิจัย ความสัมพันธ์นี้ก่อให้เกิดความแตกต่างและไม่เป็นไปตามหลักความเป็นธรรมในการจัดเก็บภาษีที่ดี เนื่องจากการที่ต้องนำเงินทุนวิจัยที่ได้รับไปรับรู้เป็นเงินได้ร่วมกับเงินได้ประเภทอื่น ๆ โดยเฉพาะกรณีที่ผู้ทำวิจัยไม่ได้รับค่าตอบแทนแต่อย่างใดในการทำวิจัย ส่งผลให้อาจารย์ผู้ทำวิจัยต้องแบกรับภาระภาษีเพิ่มมากขึ้นอันเนื่องจากการที่ประเทศไทยใช้อัตราภาษีเงินได้แบบก้าวหน้า ที่ยิ่งมีเงินได้เพิ่มมากขึ้นเท่าไรยิ่งต้องเสียภาษีในอัตราที่สูงขึ้นเท่านั้น ซึ่งรัฐควรมีมาตรการในการบรรเทาภาระภาษีที่เกิดขึ้นโดยการยกเว้น หรือลดอัตราภาษี หรือให้สิทธิในการแยกคำนวณภาษีโดยไม่นำไปรวมกับเงินได้ประเภทอื่นของผู้ทำวิจัย เพื่อจูงใจให้อาจารย์ในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ หันมาทำวิจัยโดยไม่ต้องกังวลว่าจะต้องมีภาระด้านภาษีเพิ่มขึ้นจากการทำวิจัย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
อยู่ระหว่างการปรับปรุง (ลิขสิทธิ์และการรับผิดชอบ)
References
ไกรยุทธ ธีรตยาคีนันท์. (2521). ทฤษฎีภาษีและภาษีเงินได้ของไทย. กรุงเทพฯ: ดวงกมล.
ชัยสิทธิ์ ตราชูธรรม. (2561). คำสอนวิชาฎหมายภาษีอากร พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ: สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา.
ทัศนีย์ เหลืองเรืองรอง. (2560). ความรู้ทั่วไปกฎหมายภาษีตามประมวลรัษฎากร. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์. (2516). ทฤษฎีการภาษีอากร. กรุงเทพฯ: เคล็ดไทย.
ศุภลักษณ์ พินิจภูวดล. (2547). คำอธิบายทฤษฎีและหลักกฎหมายภาษีอากร. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
ศิริรัตน์ เจนศิริศักดิ์. (2563, กรกฎาคม-ธันวาคม). “ภาระภาษีสำหรับเงินได้ของบุคลากรทางการศึกษา.” วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. ปีที่ 11 (ฉบับที่ 2) : น.280-306.
วิชชุดา แซ่แต้. (2561). ปัญหาการตีความเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2) (6) (7) และ (8) แห่งประมวลรัษฎากร. วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วิมพัทธ์ ราชประดิษฐ์. (2556). ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการแบ่งประเภทเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร: ศึกษากรณีเงินได้พึงประเมินจากการจ้างทำของ. วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0702/5977 ลงวันที่ 1 สิงหาคม 2561 https://www.rd.go.th/60835.html
สืบค้นเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ.2564
ข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0702/6747 ลงวันที่ 21 กรกฎาคม 2558 https://www.rd.go.th/26138.html
สืบค้นเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ.2564
ข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0706/5915 ลงวันที่ 18 กรกฎาคม 2548 https://www.rd.go.th/29145.html
สืบค้นเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ.2564
ข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0706/422 ลงวันที่ 18 มกราคม 2547 https://www.rd.go.th/24517.html
สืบค้นเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ.2564
ข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0706/ก.00331 ลงวันที่ 23 กรกฎาคม 2546 https://www.rd.go.th/24544.html สืบค้นเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ.2564
ข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811/1548 ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ 2545 https://www.rd.go.th/25165.html
สืบค้นเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ.2564
ข้อหารือกรมสรรพากร กค 0811/2880 ลงวันที่ 11 เมษายน 2543 https://www.rd.go.th/23895.html สืบค้นเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ.2564
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. (2562). คู่มือมือนักวิจัย. http://ird.sut.ac.th/ird2020/admin/uploads/form/fundimental/%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%A2_%E0%B8%AA%E0%B8%81%E0%B8%A7.pdf สืบค้นเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ.2564