การพัฒนาแบบองค์รวมเพื่อยกระดับคุณภาพอาหารท้องถิ่นตำบลตลาดจินดา จังหวัดนครปฐมเพื่อเพิ่มมูลค่าทางการท่องเที่ยว

Main Article Content

ชนิษฐา ใจเป็ง
โชติมา ดีพลพันธ์

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อ 1) นำเสนอแนวทางการพัฒนาแบบองค์รวมเพื่อยกระดับคุณภาพอาหารท้องถิ่นตำบลตลาดจินดาเพื่อเพิ่มมูลค่าทางการท่องเที่ยว และ 2) เพื่อนำเสนอแนวทางพัฒนาอาหารท้องถิ่น, พัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อการสร้างตราสินค้า เพื่อเพิ่มมูลค่าอาหารท้องถิ่นตำบลตลาดจินดา ใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสำรวจ การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ การวิเคราะห์จุดแข็ง/จุดอ่อน โอกาส/อุปสรรค การสังเคราะห์ข้อมูล และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า แนวทางที่สำคัญในการพัฒนา แบบองค์รวมเพื่อยกระดับคุณภาพอาหารท้องถิ่นเพื่อยกระดับคุณภาพอาหารท้องถิ่นตำบลตลาดจินดาเพื่อเพิ่มมูลค่าทางการท่องเที่ยว 1) ควรมีการจัดกิจกรรมที่ให้ประชาชนในชุมชนตำบลตลาดจินดาได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์อาหารท้องถิ่น 2) จัดอบรม เชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับอาหารท้องถิ่นแบบดั้งเดิมให้คนรุ่นใหม่ 3) จัดกิจกรรมในการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับอาหารท้องถิ่นของคนในชุมชนตำบลตลาดจินดาให้คนภายนอกชุมชนและชุมชนอื่นๆ และ 4) จัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนขั้นตอน และวิธีการปรุงอาหารที่เป็นชนิดเดียวกัน ในขณะที่ชุมชนต้องการพัฒนาและอนุรักษ์อาหารท้องถิ่น รวมถึงการออกแบบตราสินค้ารวมถึงบรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับขนมหรุ่ม ซึ่งเป็นขนมสูตรโบราณที่ปัจจุบันเกือบสูญหาย จัดทำขึ้นเฉพาะในเทศกาลและประเพณีสำคัญเท่านั้น และไม่สามารถหารับประทานได้ทั่วไป จึงได้มีการออกแบบบรรจุภัณฑ์และตราสินค้า ขึ้นใหม่ โดยเป็นบรรจุภัณฑ์และตราสินค้าที่ได้รับการพัฒนาทั้งในด้านขนาดของบรรจุภัณฑ์ รูปทรง ลวดลาย ฉลากแสดงรายละเอียดสินค้าบนบรรจุภัณฑ์ให้มีความสวยงามและความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

บัญชา จุลุกุล. (2561). การพัฒนาตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ เพื่อส่งเสริมการขาย กรณีศึกษากลุ่มวิสาหกิจชุมชน ตำบลรำแดง อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา. ในการประชุมวิชาการระดับชาติคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ครั้งที่ 1 (น.31-39). สงขลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

ประชิด ทิณบุตร และคณะ. (2559). การออกแบบพัฒนาตราสัญลักษณ์และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์เพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสำหรับผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงามของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดชัยนาท. วารสารวิชาการ ศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 7(1), 84-94.

พัฑรา สืบศิร และคณะ. (2561). การพัฒนาชุมชนแบบองค์รวม โดยการใช้พื้นที่สาธารณะและการใช้ทรัพยากรอาคารอย่างยั่งยืน. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 13(2), 64-83.

รังสรรค์ สิงหเลิศ และศรัณยา อัตถากร. (2559). รูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนเพื่อการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

เรณุมาศ กุละศิรมา และคณะ. (2560). กลยุทธ์การพัฒนาแบบองค์รวมเพื่อยกระดับคุณภาพอาหารท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการประกอบธุรกิจร้านอาหาร/ภัตตาคารและการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.

ลักษณพร โรจน์พิทักษ์กุล และคณะ. (2563). การจัดการและการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรตำบลสาวชะโงก อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า, 7(3), 41-48.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). ร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 พ.ศ. 2566 – 2570. https://www.nesdc.go.th/download/document/Yearend/2021/plan13.pdf

Okka Adiyanto, O., & Jatmiko, H. A. (2019). Development of food packaging esign with Kansei Engineering approach. International Journal of Scientific & Technology Research, 8(12), 1778-1780.