การบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองเด็กจากการแสวงหาประโยชน์ทางเพศ จากการท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต

Main Article Content

เพียงจิต ตันติจรัสวโรดม
ศุภธัช ศรีวิพัฒน์
วรากร อังศุมาลี

บทคัดย่อ

การแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากเด็กโดยใช้วิธีการท่องเที่ยวพบมากในจังหวัดภูเก็ต กฎหมายมีส่วนสำคัญใน    การปกป้องคุ้มครองเด็กจากการแสวงหาประโยชน์ทางเพศ ด้วยเหตุนี้จึงศึกษาการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองเด็กจากการแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากการท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการแสวงหาประโยชน์ทางเพศเด็กจากการท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต โดยมีกระบวนการวิจัย 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 สัมภาษณ์สาเหตุ สภาพปัญหาเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายจากเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ พนักงานเจ้าหน้าที่ตำรวจ, พนักงานอัยการและผู้พิพากษา เจ้าหน้าที่จากสำนักพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในจังหวัดภูเก็ต จำนวน 15 ราย ขั้นตอนที่ 2 นำข้อมูลมาจัดสนทนากลุ่ม 20 ราย ได้แก่ พนักงานเจ้าหน้าที่ตำรวจ พนักงานอัยการและผู้พิพากษา เจ้าหน้าที่จากสำนักพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เจ้าของธุรกิจโรงแรม เจ้าของธุรกิจบันเทิงในจังหวัดภูเก็ต ผู้เชี่ยวชาญนักวิชาการด้านกฎหมาย เพื่อระดมความคิดเห็น ปัญหาการบังคับใช้กฎหมาย การแก้ไขปัญหาการบังคับใช้กฎหมายเพื่อให้ เกิดการคุ้มครองเด็กจากการแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากการท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต


            ผลการวิจัยพบว่า มาตรการกฎหมายที่บังคับใช้ส่งผลให้หน่วยงานขาดการประสานงานและร่วมมือกันใน การคุ้มครองเด็กจากการแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากการท่องเที่ยวได้ อย่างมีประสิทธิภาพ และลักษณะการกระทำความผิดในการแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากการท่องเที่ยวมีลักษณะความผิดที่มีหลายฝ่ายเกี่ยวข้องกัน ทำให้กฎหมายไม่สามารถบังคับใช้ในสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นได้ จึงจำเป็นต้องกำหนดบทบัญญัติเกี่ยวกับการแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากการท่องเที่ยว เพื่อแก้ไขปัญหาการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองเด็กจากการแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากการท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต และก่อให้เกิดประโยชน์ในการคุ้มครองเด็ก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม. (2540). กรมประชาสงเคราะห์, พระราชบัญญัติป้องกันและคุ้มครองเด็ก กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการสิทธิ

มนุษยชนแห่งชาติ.

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ. (2549). พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546.

ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ. (2562). ประมวลกฎหมายอาญา ฉบับอ้างอิง. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2560). หลักการมัคคุเทศก์. นนทบุรี: เฟริ์นข้าหลวง พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.ปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539, กรุงเทพมหานคร:

กรมประชาสงเคราะห์ พ.ศ. 2546. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ.

พงษ์นคร นครสันติภาพ. (2551). คำอธิบายกฎหมายคนเข้าเมือง. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มูลนิธิเพื่อการยุติการแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศจากเด็ก. (2556). รู้เท่าทันการแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศจากเด็ก. เชียงราย: มูลนิธิเพื่อการยุติการแสวงหา

ผลประโยชน์ทางเพศจากเด็ก.

สุพิศ ประณีตพลกรัง. (2559). กฎหมายป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์, กรุงเทพมหานคร: นิติธรรม.

องค์กรยูนิเซฟ. (2560). รายงานสรุป การวิเคราะห์สถานการณ์การแสวงหาประโยชน์ทางเพศเชิงพาณิชย์จากเด็กในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: เอ็คแพท

อินเตอร์เนชั่นแนล

Bill .(2010). the Ministerfor Home Affairs. Springer. The parliament of the commonwealth of Australia house of representative. Crimes

Helena Karlen. (2011). The Commercial Sexual Exploitation of Children. New York: Legislation Amendment (Sexual Offences against Children)