แนวทางการพัฒนาช่องทางการตลาดไปสู่ซูเปอร์มาร์เก็ตและแหล่งท่องเที่ยวชุมชน สำหรับมะม่วงและผลิตภัณฑ์มะม่วงจากจังหวัดฉะเชิงเทรา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาช่องทางการตลาด และแนวทางการพัฒนาช่องทางการตลาดและกลไกการสร้างช่องทางการตลาดไปสู่ซูเปอร์มาร์เก็ตและแหล่งท่องเที่ยวชุมชน สำหรับมะม่วงและผลิตภัณฑ์มะม่วงจากจังหวัดฉะเชิงเทรา โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ ที่ใช้ด้วยการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จากตัวแทนผู้ให้ข้อมูลของซูเปอร์มาร์เก็ตในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดฉะเชิงเทรา ผู้ประกอบการที่จำหน่ายมะม่วงและผลิตภัณฑ์มะม่วงในแหล่งท่องเที่ยวชุมชนจังหวัดฉะเชิงเทรา พ่อค้าคนกลางที่จำหน่ายมะม่วงและผลิตภัณฑ์มะม่วงให้กับซูเปอร์มาร์เก็ต และเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงและผลิตผลิตภัณฑ์มะม่วง ในจังหวัดฉะเชิงเทรา และการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า ช่องทางการตลาดไปสู่ซูเปอร์มาร์เก็ตและแหล่งท่องเที่ยวชุมชน สำหรับมะม่วง และผลิตภัณฑ์มะม่วงจากจังหวัดฉะเชิงเทรา 3 ช่องทาง ได้แก่ 1) เกษตรกรจำหน่ายให้ซูเปอร์มาร์เก็ต และซูเปอร์มาร์เก็ตเป็นผู้จำหน่ายให้ผู้บริโภค 2) การแบ่งเปอร์เซ็นต์จากรายได้จากการจำหน่ายให้ซูเปอร์มาร์เก็ต และ 3) การจำหน่ายตามนโยบายของซูเปอร์มาร์เก็ต ส่วนช่องทางการตลาดไปสู่แหล่งท่องเที่ยวชุมชน สำหรับมะม่วงและผลิตภัณฑ์มะม่วงจากจังหวัดฉะเชิงเทรา 2 ช่องทาง ได้แก่ 1) เกษตรกรเป็นผู้จำหน่ายให้ผู้บริโภคโดยตรง และ 2) พ่อค้าคนกลางจะเป็นผู้จำหน่ายให้กับผู้บริโภค และแนวทางการพัฒนาช่องทางการตลาดและกลไกการสร้างช่องทางการตลาดไปสู่ซูเปอร์มาร์เก็ตและแหล่งท่องเที่ยวชุมชน 3 แนวทาง ได้แก่ 1) การจัดกิจกรรม/นิทรรศการเกี่ยวกับมะม่วงและของดีเมืองแปดริ้ว 2) การนำผลผลิตมะม่วงและผลิตภัณฑ์มะม่วงจำหน่ายในซูเปอร์มาเก็ตและแหล่งท่องเที่ยวชุมชนนอกจังหวัดฉะเชิงเทรา และ 3) การจำหน่ายในซูเปอร์มาเก็ตตามนโยบายของซูเปอร์มาเก็ต
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
อยู่ระหว่างการปรับปรุง (ลิขสิทธิ์และการรับผิดชอบ)
References
กรมส่งเสริมการเกษตร. (2563). ระบบสารสนเทศการผลิตทางด้านเกษตร. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2564,
จาก http://production.doae.go.th
ปฐมพงษ์ บำเริบ. (2562). แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่าย กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชน
บางพลี ปุณณิกาเดคูพาจ (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. สมุทรปราการ
ประสิทธิ์ รัตนพันธ์, มณีรัตน์ รัตนพันธ์ และจาริณี แซ่ว่อง. (2561). การพัฒนาช่องทางจัดจำหน่ายและการสร้างมูลค่าเพิ่ม
ให้กับผลิตภัณฑ์ชุมชนประเภทอาหาร จังหวัดสงขลา. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน, 11(4), 42-52.
เย็นจิต นาคพุ่ม, ชไมพร พาหุกาญจน์ และ เจษฎา ร่มเย็น. (2562, มิถุนายน). Digital Learning, Communication and
Multimedia. แนวทางการพัฒนากลยุทธ์ช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกในจังหวัดกระบี่ ในการ
ประชุมวิชาการระดับชาติ สารสนเทศศาสตร์วิชาการ ครั้งที่ 1 วันที่ 25-26 มิถุนายน 2562. (8), 1-6. มหาวิทยาลัย
วลัยลักษณ์.
สำนักงานเกษตรจังหวัดฉะเชิงเทรา. (2560). ข้อมูลการปลูกพืชเศรษฐกิจที่สำคัญจังหวัดฉะเชิงเทรา ปี 2559/2560.
สืบค้นเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2564, จาก http://www.chachoengsao.doae.go.th.
เสรี วงษ์มณฑา. (2542). การประชาสัมพันธ์: ทฤษฎีเชิงปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: ธีระฟิลม์และไซเท็กซ.
สุเมธ พิลึก, จิตาพัชญ์ ไชยสิทธิ์, และ ลฎาภา แผนสุวรรณ. (2563). การพัฒนาช่องทางจัดจำหน่ายสินค้าเกษตรแปรรูปใน
เขตพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ ด้วยระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์
นครสวรรค์, 8(2), 217-228.
Anuwichanont, J., Serirat, S., Mechinda, P., & Archarungroj, P. (2020). Examining Tourists' Attitude
Towards the Religious Tourism in Thailand. Review of Integrative Business and Economics
Research, 9(3), 55-66.
Cochran, W. G. (1977). The estimation of sample size. Sampling techniques, 3, 72-90.
Kotler, P. T., & Lee, N. R. (2009). Up and out of poverty: The social marketing solution. Pearson
Prentice Hall.
Kotler, P., Kartajaya, H., & Setiawan, I. (2019). Marketing 3.0: From products to customers to the
human spirit. In Marketing wisdom (pp. 139-156). Springer, Singapore.