การสร้างสื่อการสอนมัลติมีเดียแบบภาพจำคำบัญชีพื้นฐานเพื่อพัฒนาทักษะด้านการอ่านของเด็กปฐมวัย

Main Article Content

วาสนา เกษประทุม
วราภรณ์ ไทยมา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างสื่อการสอนมัลติมีเดียแบบภาพจำสำหรับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเด็กปฐมวัย 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะด้านการอ่านคำบัญชีพื้นฐานของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการใช้สื่อการสอนมัลติมีเดียแบบภาพจำในการเรียนรู้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการออกแบบสื่อการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านของเด็กปฐมวัย เพื่อนําไปเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการจัดการเรียนรู้ในด้านต่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนปฐมวัย สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 จำนวน 12 โรงเรียนมีนักเรียนชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 3 รวม 38 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ สื่อการสอนมัลติมีเดียแบบภาพจำคำบัญชีพื้นฐานของเด็กปฐมวัย แผนการจัดกิจกรรม และแบบประเมินทักษะการอ่าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ การทดสอบค่าทีและวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า 1) การสร้างสื่อการสอนมัลติมีเดีย ประกอบไปด้วยขั้นตอนดังนี้ 1. ขั้นวิเคราะห์ เนื้อหา กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ และกิจกรรมการเรียนการสอน 2. ขั้นออกแบบ นำคำบัญชีพื้นฐานและรูปภาพสื่อมาวางแผนตามรูปแบบโครงสร้างของสื่อมัลติมีเดียในโปรแกรมพาวเวอร์พอยต์ตกแต่งภาพเคลื่อนไหว เลือกพื้นหลังและ ใส่รูป คำบัญชีพื้นฐาน เพิ่มรูปแบบเคลื่อนไหว ใส่เสียงเพลงและเสียงคำอ่าน 3. ขั้นประเมินผลสื่อการสอนมัลติมีเดียนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาและผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีทางการศึกษาตรวจสอบคุณภาพ ผลการพิจารณาคุณภาพสื่อการสอนจากผู้เชี่ยวชาญ พบว่า มีคุณภาพอยู่ในระดับดี มีคะแนนค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.47 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.24 2) ผลการเปรียบเทียบทักษะด้านการอ่านคำบัญชีพื้นฐานโดยใช้มัลติมีเดียแบบภาพจำเป็นสื่อในการจัดการเรียนรู้โดยใช้การทดสอบค่าที พบว่าคะแนนหลังเรียนโดยใช้สื่อการสอนมัลติมีเดียแบบภาพจำเท่ากับ 8.68 คะแนน สูงกว่าก่อนเรียนที่มีคะแนนเท่ากับ 4.32 คะแนน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ กรมวิชาการ. (2551). แนวการจัดประสบการณ์ระดับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 สำหรับเด็กอายุ 3-6 ปี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2551). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: เบรนเบสบุ๊กส์.

คณวัฒน์ พรสุริยโรจน์. (2559). สื่อการสอนกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรม ท้องถิ่น,7(9), 374-385.

ชลาธิป สมาหิโต. (2556). การพัฒนาภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย (พิมพ์ครั้งที่2). นนทบุรี: พี เอส.พริ้นท์.

ฐาปนี เครืออนันต์, และนฤมล เทพนวล. (2559). ชุดการสอนมัลติมีเดียเสริมทักษะด้านการอ่านนักเรียนชั้นประถมศึกษา, วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเซีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์, 8(3), 144-152.

ดารารัตน์ อุทัยพยัคฆ์. (2555). พฤติกรรมการอ่านในเด็กปฐมวัย. https://www.gotoknow.org/posts/452264.

ทวีวัฒน์ วัฒนกุลเจริญ และคณะ. (2562). การเรียนเชิงรุก (Active learning). http://pirun.ku.ac.th

ภานุวัฒน์ จารุนัย, และแสงเดือน คงนาวัง. (2564). การพัฒนาทักษะการอ่านคําศัพท์พื้นฐานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้วิธีสอนอ่านแจกลูกสะกดคําร่วมกับเกมทางภาษา, Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(7), 131-141.

วิไลวรรณ ขนิษฐานันท์. (2551). ภาษาและภาษาศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อังศุมาลิน ติดตระกูลชัย. (2564). การออกแบบสื่อการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะด้านภาษาไทยของเด็กปฐมวัย. วารสาร บัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ มจร. วิทยาเขตแพร่ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 7(2), 159-169.

Ali, A., Aziz, Z., & Majzub, R. (2011). Teaching and learning reading through play. http://www.idosi.org/wasj/wasj14(LIDDL)11/3.pdf.

Lowery, E. B. L. (1978). The effects of four drills and practices times unit on the decoding performances of students with specific learning disabilities. Dissertation Abstracts International, 39, 7199A.

Mahsuri, M. ( 2021). Students’ ability in reading comprehension of Da’wahand Islamic Communication Department at STAIN Bengkalis. Kaisa: Jurnal Pendidikan dan Pembelajaran, 1(2), 106-116.

Mayer, E., & Moreno, R. (2002). Aids to computer-based multimedia learning”. Learning and Instruction, 12(1), 107-119.