การพัฒนากล้ามเนื้อเล็กของเด็กเตรียมปฐมวัยโดยใช้ชุดฝึกทักษะกล้ามเนื้อเล็ก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการพัฒนากล้ามเนื้อเล็กของเด็กเตรียมปฐมวัยโดยใช้ชุดฝึกทักษะกล้ามเนื้อเล็ก ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนากล้ามเนื้อเล็กของเด็กเตรียมปฐมวัย ก่อนและหลังที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้ชุดฝึกทักษะกล้ามเนื้อเล็ก กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เด็กปฐมวัยชาย – หญิง อายุ 2 – 3 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นเตรียมปฐมวัย 1 โรงเรียนสาธิตปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 29 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ชุดฝึกทักษะกล้ามเนื้อเล็กของเด็กเตรียมปฐมวัย จำนวน 6 ชุด ได้แก่ 1. ชุดฝึกทักษะดึงแกะแปะติด 2. ชุดฝึกทักษะไม้หนีบหรรษา 3. ชุดฝึกทักษะเรียงร้อยผ้าพาเพลิน 4. ชุดฝึกทักษะโลกใต้ทะเล 5. ชุดฝึกทักษะฝึกแต่งตัวกันเถอะ 6. ชุดฝึกทักษะมือน้อยร้อยสาน 2) แผนการจัดประสบการณ์ชั้นเตรียมปฐมวัย 3) แบบประเมินทักษะด้านการใช้กล้ามเนื้อเล็กของเด็กเตรียมปฐมวัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การทดสอบค่าที (t-test for Dependent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดฝึกทักษะกล้ามเนื้อเล็ก เพื่อพัฒนาทักษะกล้ามเนื้อเล็กของเด็กเตรียมปฐมวัย มีประสิทธิภาพเท่ากับ 94.83/96.42 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) การพัฒนาทักษะด้านกล้ามเนื้อเล็กของเด็กเตรียมปฐมวัยโดยใช้ชุดฝึกทักษะกล้ามเนื้อเล็ก หลังการจัดกิจกรรมสูงกว่าก่อนจัดกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
อยู่ระหว่างการปรับปรุง (ลิขสิทธิ์และการรับผิดชอบ)
References
กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2545). การจัดการศึกษาสำหรับเด็กวัยเตาะแตะ. วารสารการศึกษาปฐมวัย. 6(3), 67.
______. (2551). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: เบรน-เบส บุ๊คส์
เกสร วรวงค์. (2555). การพัฒนาแบบวัดความสามารถด้านกล้ามเนื้อเล็กของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏ
มหาสารคาม, มหาสารคาม.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2541). นวกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษากับการสอนระดับอนุบาล. กรุงเทพฯ: ไทยพานิช.
ดลกร จันทร์กลาง. (2554). การศึกษาและพัฒนาของเล่นเสริมทักษะด้านการใช้กล้ามเนื้อเล็กของเด็กปฐมวัย. (ปริญญา นิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
ทิศนา แขมมณี และคณะ. (2545). หลักการและรูปแบบการพัฒนาเด็กปฐมวัยตามวิถีชีวิตไทย. กรุงเทพฯ: หน่วยปฏิบัติการศึกษาวิจัยการศึกษาปฐมวัย จุฬาลงณ์
มหาวิทยาลัย.
นิตยา ประพฤติกิจ. (2539). การพัฒนาเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์
ปริญญา อุบลกาญจน์. (2553). การสร้างชุดฝึกทักษะแบบใช้เกมการศึษาเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย โรงเรียนไทยรัฐวิทยา22 (ใต้ร่มเย็น).
(วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, กรุงเทพฯ. ถ่ายเอกสาร.
ผกากานต์ น้อมเนียม. (2556). ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กอายุ 4-5 ปี ที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยดิน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหา
บัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ.
พัฒนา ชัชพงศ์. (2541). ทฤษฎีและปฏิบัติการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย. กรุงเทพฯ: ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ.
ภรณี คุรุรัตนะ. (2535). การเล่นของเด็ก. ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เยาวพา เดชะคุปต์. (2542). การจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: เอพี กราฟฟิกดีไซน์.
รวิพร ผาด่าน. (2557). ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์การฉีก ตัด ปะ เศษวัสดุ.
(ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ. ถ่ายเอกสาร.
สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์. (2553). การวัดผลการประเมินแนวใหม่ : เด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: สาขาการศึกษาปฐมวัย ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2543). แนวดำเนินการของสถานศึกษาเพื่อจัดกิจกรรมเสริมประสบการณพัฒนาคุณภาพภายในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
Anderson, P.S., & Lapp, D., (1979). Language Skills in Elementary Education (4th ed.). New York: Macmillian.
Fish, J., & Terry, A., (1977). Childrens Language and The Language Arts. New York: McGraw-Hill.
Mcafee, o., & Leong, D., (2004) Assessing and Guiding Young Children’s Development Learning. Toronto: Allyn, And Bacon.