ส่วนประสมทางการตลาด และความพึงพอใจของลูกค้าที่ส่งผลต่อ การตัดสินใจซื้อมะพร้าวน้ำหอม จังหวัดอุตรดิตถ์

Main Article Content

ปวรุตม์ ครุฑเมือง
อิราวัฒน์ ชมระกา
ภาศิริ เขตปิยรัตน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความสำคัญของส่วนประสมทางการตลาด ความพึงพอใจ ของลูกค้า และการตัดสินใจซื้อมะพร้าวน้ำหอม และเพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาด และความพึงพอใจที่ส่งผลต่อ การตัดสินใจซื้อมะพร้าวน้ำหอม กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ ประชาชนที่เป็นผู้บริโภคมะพร้าวน้ำหอม ในจังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 385 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า ในภาพรวมส่วนประสมทางการตลาดของมะพร้าวน้ำหอมในจังหวัดอุตรดิตถ์มีความสำคัญในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}=4.14) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่ามีด้านผลิตภัณฑ์มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (gif.latex?\bar{x}=4.27) รองลงมาเป็นด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (x ̅=4.15) และด้านการส่งเสริมการตลาด (gif.latex?\bar{x}=4.08) สำหรับความพึงพอใจในการซื้อมะพร้าวน้ำหอมในจังหวัดอุตรดิตถ์ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}=4.21) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจในระดับมากทุก ๆ ด้าน ประกอบด้วย ด้านคุณค่าของสินค้า (gif.latex?\bar{x}=4.30) ด้านคุณภาพสินค้า (gif.latex?\bar{x}=4.25) และด้านความคาดหวังของลูกค้า (gif.latex?\bar{x}=4.06) ส่วนการตัดสินใจซื้อมะพร้าวน้ำหอมในภาพรวมมีความสำคัญระดับมาก  (gif.latex?\bar{x}=4.10) โดยด้านการประเมินผลหลังการซื้อมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (gif.latex?\bar{x}=4.21) รองลงมาเป็น ด้านการรับรู้ปัญหา (gif.latex?\bar{x}=4.13) และด้านการประเมินผลทางเลือก (gif.latex?\bar{x}=4.12) ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณรายด้าน ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 พบว่า การตัดสินใจซื้อเกิดจากอิทธิพลของ ส่วนประสมทางการตลาด ด้านราคา ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านผลิตภัณฑ์ ร้อยละ 67.20 และยังพบว่าการตัดสินใจซื้อเกิดจากอิทธิพลของความพึงพอใจ ด้านคุณค่าของสินค้า ด้านความคาดหวังของลูกค้า และด้านคุณภาพสินค้า ร้อยละ 53.70

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จุรีพร ช้อนใจ. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อน้ำผลไม้พร้อมดื่ม ตรากรีนเมท ของผู้บริโภคในจังหวัดราชบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพมหานคร.

ชูชัย สมิทธิไกร. (2563). พฤติกรรมผู้บริโภค (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดลนัสม์ โพธิ์ฉาย. (2562). ปัจจัยทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจบริโภคผลไม้พรีเมี่ยม กรณีศึกษาผู้บริโภคในอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เทคโนโลยีชาวบ้าน. (2564). โควิด-19 ชะลอความต้องการมะพร้าวครึ่งปีแรก สศก. แจ้งผู้แปรรูปมะพร้าวช่วยรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกร. https://www.technologychaoban.com/agricultural-technology/ article_186293

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2563). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS (พิมพ์ครั้งที่ 18). กรุงเทพฯ: อส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.

นภดล ร่มโพธิ์. (2554). หนังสือรวบรวมบทความการวัดความพึงพอใจลูกค้าและความพึงพอใจพนักงาน. กรุงเทพฯ: คณะบุคคลอิเมจิเนียริ่ง.

บางกอก เอสเอ็มอี. (2562). มะพร้าวน้ำหอมออร์แกนิก พืชเศรษฐกิจทำเงิน. https://www.bangkokbanksme.com/en/coconut-agriculture-economy

เปรมปวีณ์ ปิ่นแก้ว. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปจากมะพร้าวน้ำหอมของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด. กรุงเทพมหานคร.

มงคล รอดศรี. (2562). กระบวนการตัดสินใจบริโภคน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

มะพร้าวน้ำหอม 32 ล้าน. (2564, 31 พฤษภาคม). ไทยรัฐออนไลน์. https://www.thairath.co.th/news/local/central/2104361.

วุฒิ สุขเจริญ. (2562). วิจัยการตลาด (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ศุภร เสรีรัตน์, องอาจ ปทะวานิช, ปริญ ลักษิตานนท์, และสุพีร์ ลิ่มไทย. (2563). หลักการตลาด. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.

สุชาติ ไตรภพสกุล. (2564). หลักการตลาดเพื่อการเป็นผู้ประกอบการ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Kotler, P. (1997). Principles of marketing. New Jersey: Prentice-Hall.