การพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายและการสร้างแบรนด์กระเป๋า “Duri” ของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรสันติภาพวังพญา อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายและสร้างแบรนด์กระเป๋า “Duri” ของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรสันติภาพวังพญา อำเภอรามัน จังหวัดยะลา ลักษณะเป็นงานวิจัยและพัฒนา ที่ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการสนทนากลุ่ม การปฏิบัติการพัฒนา และการสัมภาษณ์เจาะลึก จากกลุ่มเป้าหมายวิจัย ซึ่งได้แก่ ผู้ประกอบการคนกลาง ลูกค้า และผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดออนไลน์ รวม 12 คน โดยให้มีการคละหลากหลาย ทั้งทางด้านอายุ อาชีพ และทำเลที่ตั้ง ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายกระเป๋า Duri ผลเป็นดังนี้ ด้านการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมธุรกิจ กระเป๋าแบรนด์ “Duri” มีจุดแข็งที่กระเป๋ามีสีสันและสไตล์ที่เป็นอัตลักษณ์ และได้รับรางวัลชนะเลิศนวัตกรรมดีเด่น หากแต่มีจุดอ่อนเรื่องราคาที่ค่อนข้างสูง การผลิตไม่คงที่และล่าช้า ส่วนโอกาสได้แก่การได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ รวมถึงวัตถุดิบเตยหนามที่มีมากในพื้นที่ สำหรับอุปสรรคเป็นเรื่องของคู่แข่งขันกระเป๋าจักสานซึ่ง มีมากและราคา ถูกกว่า รวมถึงเศรษฐกิจตกต่ำและมีสถานการณ์โควิด ด้านลูกค้าเป้าหมาย เน้นผู้หญิงวัยทำงาน อายุ 30-65 ปี รายได้ระดับปานกลางขึ้นไป เป็นคนที่ชื่นชอบงานจักสานที่มีคุณภาพและมีอัตลักษณ์ที่แตกต่าง สำหรับการพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายแบบออนไลน์ ได้ดำเนินการผ่านแพลตฟอร์ม Page Facebook, YouTube, Instagram และ @LINE 2) การสร้างแบรนด์กระเป๋า Duri ได้ดำเนินการพัฒนาดังนี้ กำหนดตำแหน่งทางการตลาดเน้น “สีสันและสไตล์ที่เป็นอัตลักษณ์” ผ่านการสื่อสารการตลาดแบบผสมผสาน 6 เครื่องมือ ดังนี้ การโฆษณา การส่งเสริมการขาย การตลาดเชิงกิจกรรม การประชาสัมพันธ์ การขายโดยบุคคล และอื่น ๆ ส่งผลให้กระเป๋า Duri เป็นที่รู้จักและยอมรับมากขึ้น และมียอดขายเพิ่มขึ้นเฉลี่ยจากเดิม 125%
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
อยู่ระหว่างการปรับปรุง (ลิขสิทธิ์และการรับผิดชอบ)
References
ณัฏฐ์ชิสา อัฐศักดิ์. (2558). ปัจจัยในการเลือกซื้อสินค้าแบรนด์เนมทางออนไลน์ประเภทกระเป๋าและรองเท้าสุภาพสตรี
http://dspace.bu.ac.th/bitstream/123456789/2160/1/natchisa_atth.pdf.
ทิชากร เกสรบัว. (2558). กลยุทธ์การเพิ่มศักยภาพแข่งขันทางการตลาดสำหรับ ผู้ประกอบการรายใหม่ (ประเภทเครื่องจักสาน) ในตลาดอาเซียน กรณีศึกษา วิสาหกิจชุมชน กลุ่มเกษตรกรทำนาข้าวบ้านบางพลวง อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพ, 23(11), 225-247.
นิชาวดี ตานีเห็ง. (2562). การสร้างแบรนด์และการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการผลิตภัณฑ์จักสานจากเตยหนามสู่การแข่งชันเชิงพาณิชย์ ภายใต้แนวคิดเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ชุมชนพงบูโล๊ะ ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา. ยะลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
ปวีณา เจะอารง, ชรีฮาน ยีแว, มีนา ระเด่นอาหมัด, กัลยรัตน์ พินิจจันทร์, รอมลี เจะดอเลาะ และอิมรอน มีชัย. (2562). การพัฒนาผลิตภัณฑ์จักสานจากเตยหนามป่ากลุ่มบุหงาปืองาเต็ง อําเภอยะหา จังหวัดยะลา. ในการประชุมวิชาการระดับชาติ: วิชาการรับใช้สังคม ครั้งที่ 2, 15-16 สิงหาคม 2562 (น.1-8). มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.
เพลินทิพย์ โกเมศโสภา. (2555). การวางแผนการตลาด (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มาลินี คำเครือ, และธีระพันธ์ โชคอุดมชัย. (2562). กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าโอทอปผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของผู้บริโภคในจังหวัดกาญจนบุรี. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า, 6(1), 1-8.
รจนา จันทราสา. (2558). การออกแบบผลิตภัณฑ์หัตถกรรมหญ้าแฝก. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิทวัส รุ่งเรืองผล. (2552). หลักการตลาด (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
องค์การบริหารส่วนตำบลวังพญา. (2564). สภาพและข้อมูลพื้นฐานตำบลวังพญา. https://www.wangpaya.go.th/general1.php.
อัปสร อีซอ, ศุภมาส รัตนพิพัฒน์, วรวุฒิ วรานันตกุล, อรวรรณ วรานันตกุล, เบญญาดา เหล่าธนถาวร, และรอมซี แตมาสา. (2562). การพัฒนาผลิตภัณฑ์กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรสันติภาพวังพญา อำเภอรามัน จังหวัดยะลา ตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์. ในการประชุมวิชาการระดับชาติ โครงการสัมมนาเครือข่ายความร่วมมือ วจก.5+2 เขตภูมิศาสตร์ภาคใต้ ครั้งที่ 9, 10-11 เมษายน 2562. สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
Duncan, T. (2005). Principles of advertising and Integrated marketing communication. 2nd ed. New York: McGraw-Hill.
Kotler, P. (2016). Marketing management (15th ed). New Jersey: Prentice-Hall.
Shimp, T. A. (2010). Integrated marketing communications in advertising and promotion (8th ed). South-Western: Cengage Learning.