ปัจจัยคุณค่าตราสินค้าและส่วนประสมการตลาดบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อซ้ำ: กรณีศึกษา ร้านกาแฟอินทนิลในสถานีน้ำมันบางจาก จังหวัดปทุมธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล คุณค่าของตราสินค้า และปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อซ้ำของผู้บริโภคกาแฟร้านกาแฟอินทนิลในสถานีน้ำมันบางจาก จังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริโภคที่เคยใช้บริการร้านร้านอินทนิล ที่สาขาในสถานีบริการน้ำมันบางจาก ในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 392 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วย การทดสอบแบบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ
ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้บริโภค ด้านอาชีพ และรายได้ที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อซ้ำของผู้บริโภคกาแฟร้านกาแฟอินทนิลในสถานีน้ำมันบางจาก จังหวัดปทุมธานี แตกต่างกัน 2) ปัจจัยคุณค่าของตราสินค้า ในด้านความภักดีต่อตราสินค้า ด้านความเชื่อมโยงต่อตราสินค้า และด้านการรับรู้ตราสินค้า ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อซ้ำของผู้บริโภคกาแฟร้านกาแฟอินทนิลในสถานีน้ำมันบางจาก จังหวัดปทุมธานี ตามลำดับ และ 3) ปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อซ้ำของผู้บริโภคกาแฟร้านกาแฟอินทนิลในสถานีน้ำมันบางจาก จังหวัดปทุมธานี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านผลิตภัณฑ์และบริการ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
อยู่ระหว่างการปรับปรุง (ลิขสิทธิ์และการรับผิดชอบ)
References
กัลยา วานิชย์บัญชา, และฐิตา วานิชย์บัญชา. (2558). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สามลดา.
จิธญา ตรังคิณีนาถ, นฤมล ลาภธนศิริไพบูลย์, ยลชนก ขวดพุทรา, และปาณิศา วิชุพงษ์. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านคาเฟ่และการกลับมาใช้บริการซ้ำของผู้บริโภค. วารสารนวัตกรรมธุรกิจ การจัดการ และสังคมศาสตร์, 3(1), 42-63.
ณัฐทิชา ชาญวิทย์การ และวาทิต อินทุลักษณ์. (2563). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในมุมมองของผู้บริโภคและปัจจัยคุณค่าตราสินค้าที่มีผลต่อความจงรักภักดีในตราสินค้าของผู้บริโภคกาแฟแฟรนไชส์ของไทยในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 14(3), 526-547.
ดุสิตา อิ่มอารมณ์. (2564). Inthanin: แบรนด์ที่เติบโตงอกงามด้วยความคิดสร้างสรรค์และการออกแบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม. https://happeningandfriends.com/article-detail/326?lang=th
เดือนเพชร วิชชุลดา. (2560). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อกาแฟร้านกาแฟอินทนิลในสถานีบริการน้ำมันบางจากของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
บุญไทย แสงสุพรรณ, และกฤษดา เชียรวัฒนสุข. (2563). คุณค่าของตราสินค้าและปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อซ้ำของผู้บริโภคกาแฟร้านคาเฟ่อเมซอน สาขาในห้างสรรพสินค้า จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(1), 47-59
ประชาชาติธุรกิจ. (2562). เทรนด์ร้านกาแฟโต 1.7 หมื่นล้าน กวินฯจัดบิ๊กอีเวนต์ยกระดับเทรดภูมิภาค. https://www.prachachat.net/marketing/news-297393
ศรัณย์ ปุราภา, และสุพาดา สิริกุตตา. (2556). คุณค่าตราสินค้า ความพอใจด้านส่วนประสมทางการตลาดและพฤติกรรมการซื้อมีอิทธิพลต่อแนวโน้มพฤติกรรมการซื้อสินค้าผลิตภัณฑ์เบียร์สิงห์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ, 4(1), 79-95.
ศัสยนม ศีตลาวัชรพล, และสายพิณ ปั้นทอง. (2565). อิทธิพลของปัจจัยทางการตลาดที่มีต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องดื่มกาแฟสดจากร้านสะดวกซื้อในกรุงเทพมหานคร. วารสารปัญญาปณิธาน, 7(1), 195-208.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ศุภร เสรีรัตน์, ปริญ ลักาตานนท์, องอาจ ปทะวานิช, ปณิศา มีจินดา, จิระวัฒน์ อนุวิชชานนท์ และอรทัย เลิศวรรณวิทย์. (2552). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.
สถิติทางการทะเบียน. (2564). สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร. https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth/#/mainpage
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2563). จ.น่าน บูม ‘กาแฟ’ สร้างอัตลักษณ์สินค้า เน้นเป็นมิตรสิ่งแวดล้อม พัฒนาคุณภาพสู่มาตรฐานสากล. สืบค้นจาก https://www.oae.go.th/view/1/รายละเอียดภาวะเศรษฐกิจการเกษตร/34938/TH-TH
อริศรา พร้อมแกว. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อกาแฟสดของผู้บริโภคที่ใช้บริการร้านบ้านแก้วกาแฟอำเภอคลองใหญ่จังหวัดตราด. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.
Aaker, D. A. (1991). Managing brand equity. New York: Free Press.
Chang, Y. Y., Lin, S. C., Yen, D. C., & Hung, J. W. (2020). The trust model of enterprise purchasing for B2B e-marketplaces. Computer Standards & Interfaces, 70(1), 1-11.
Do, Q., & Vu, T. (2020). Understanding consumer satisfaction with railway transportation service: An application of 7Ps marketing mix. Management Science Letters, 10(6), 1341-1350.
Hellier, P. K., Geursen, G. M., Carr, R. A., & Rickard, J. A. (2003). Customer repurchase intention: A general structural equation model. Journal of Marketing, 37(11), 1762-1800.
Schiffman, L. G., & Kannuk, L. L. (2007). Consumer behavior (9th ed.). New Jersey: Pearson Prentice Hall.
Thabit, T., & Raewf, M. (2018). The evaluation of marketing mix elements: A case study. International Journal of Social Sciences & Educational Studies, 4(4), 100-109.
Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row.