ภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1

Main Article Content

ธนพร จรจรัญ
กัลยมน อินทุสุต

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 จำแนกตามวุฒิการศึกษา ประสบการณ์ การทำงาน และกลุ่มโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 ปีการศึกษา 2565 โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ โดยอาศัยตารางสำเร็จรูปของโคเฮน (Cohen) ได้จำนวน 357 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วน 5 ระดับ จำนวน 65 ข้อ ที่มีค่าความเที่ยงตรง (IOC) ระหว่าง 0.6-1.00 และค่าความเชื่อมั่นด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคได้เท่ากับ .958 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe’s post hoc comparisons method)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคิดเห็นของครูที่มีต่อภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 โดยภาพรวมและรายด้านมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 2) ครูที่มีประสบการณ์การทำงานต่างกันมีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำ การเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 ทั้งภาพรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนครูที่มีวุฒิการศึกษา และกลุ่มโรงเรียนแตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา ไม่แตกต่างกัน


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จุลศักดิ์ ก๊อกพิมพ์. (2561). ภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาและพฤติกรรมการสอนของครูที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการพัฒนาวิชาชีพครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 22 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

จิตกมล โคตรทองหลาง. (2564). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหาร สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 8(7), 159-169.

จิตติภูมิ เทพคำ. (2564). การศึกษาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต 3 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยพะเยา.

เจริญ นามชู. (2564). ภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 9(1), 429-442.

เจริญ ภูวิจิตร. (2564). การจัดการเรียนรู้ทางออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพในยุคดิจิทัล. http://www.nidtep.go.th/2017

ญาณี ศรีประเสริฐ. (2560). ภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย.

นนกร มังคละศิริ. (2560). ภาวะผู้นำเชิงพหุวัฒนธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ศึปริญญามหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ปานหทัย ปลงใจ. (2564). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตบางบอน กรุงเทพมหานคร. วารสารรอยแก่นสาร, 6(5), 168-182.

ปฏิเวช บุญเกิด. (2562). ภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาขวัญในการปฏิบัติงานของครูที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามมาตรฐานของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

รุจาภรณ์ ลักษณะดี. (2565). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาในสหวิทยาเขตบ้านบึง 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกริก.

รัตน์ดา เลิศวิชัยและคณะ. (2560). องค์ประกอบภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อสมรรถนะการจัดการเรียนการสอนของครูสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 17(ฉบับพิเศษ), 669-683.

สมชาย เทพแสง. (2560). กลยุทธ์ในการสร้างแรงบันดาลใจของผู้นำร่วมสมัย.วารสารบริหารการศึกษามศว, 14(27), 165-172.

สมพร วันประกอบ. (2565). การพัฒนาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำแห่งการเรียนรู้ของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้โรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร. วารสารรัชต์ภาคย์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร สถาบันรัชต์ภาค, 16(46), 217-233.

สินีนาฏ จิระพรพาณิชย์. (2563). ภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาในยุคดิจิทัล ตามความคิดเห็น ของครูในเขตอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุเมธ ผ่านวงศ์. (2563). ภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาและวัฒนธรรมของโรงเรียนที่ส่งผลต่อคุณภาพการจัดการเรียนการสอนของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 1. วารสารการบริหารและนวัตกรรมการศึกษาคณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 3(2), 61-79.

สุธรรม ธรรมทัศนานนท์. (2561). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำแห่งการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 13(2), 170-181.

สุวัฒน์ จุลสุวรรณ์. (2563). การศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(5), 183-198.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ (2562). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 – 2580. http://www.ratchakitcha.soc.go.th

อรอุมา ศรีประทุมวงศ์. (2563). การศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา ศูนย์การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2, (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สกลนคร.อนุชิต พันธ์กง. (2563). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษ มัธยมศึกษา เขต22 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิ). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

อานุภาพ เลขะกุล. (2564). ความปกติถัดไปอุดมศึกษา: ความท้าทาย. วารสารการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้, 1(2), 111-125.

Allen, N. J., & Meyer, J. P. (1990). The measurement and antecedents of affective, continuance andnormative commitment to the organization. Journal of Occupational Psychology, 6, 1-18.

Best, J., & Kahn, J. V. (1993). Research in education (7th ed.). Allyn and Bacon. Cohen, L., Manion, L, & Morrison, K. (2011). Research methods in education (7th ed.). Routledge.

Nahavandi, A., & Malekzadeh, A.R. (1999). Organization culture in the management of mergers. Quorum Book.

OECD. (2013). PISA 2015 Assessment and Analytical Framework.

Thamrongthanyawong, S. (2012). Public Policy: Concepts, Analysis and Processes. (25th ed). Sema Dharma Publishing House.

Sun, Y. (2562). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนสังกัด สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดบุรีรัมย์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.