การไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญาในชั้นสอบสวนกับการรับแจ้งความ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญาในชั้นสอบสวน ตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 โดยพนักงานสอบสวน สำหรับความผิดอันยอมความได้ ความผิดลหุโทษตามประมวลกฎหมายอาญา ได้ถูกหลักเกณฑ์ภายในกล่าวคือระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าด้วยว่าด้วยการรับเลขคำแจ้งความ และเลขคดีอาญา พ.ศ. 2565 กำหนดให้พนักงานสอบสวนการดำเนินการรับแจ้งความและออกเลขคดีอาญาเพื่อให้เกิดสถิติคดีอาญาเป็นไปด้วยความถูกต้อง และตรงกับความเป็นจริง ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อผู้เสียหาย ผู้กระทำความผิด ทำให้คู่กรณีไม่ได้รับการเยียวยาอย่างทันท่วงที จึงควรมีการเปลี่ยนแปลงระบบการรับแจ้งความให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติดังกล่าว
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
อยู่ระหว่างการปรับปรุง (ลิขสิทธิ์และการรับผิดชอบ)
References
ปอล เรือนใจดี. (2562). ปัญหาการใช้อำนาจของพนักงานสอบสวน กรณีสั่งให้มีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางอาญา ในหมวด 4 ตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
พระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562. (2562). ราชกิจจานุเบกษา, 136(67 ก), 1-21.
ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าด้วยการรับเลขคำแจ้งความและเลขคดีอาญา พ.ศ. 2565. (2565). (ม.ป.ท.).
วรพจน์ เวียงจันทร์. (2557). การไกล่เกลี่ย สมานฉันท์ ในระบบพิจารณาคดีอย่างต่อเนื่องของศาลยุติธรรม: ศึกษาเฉพาะกรณี ของศาลจังหวัดพิษณุโลกและศาลจังหวัดกบินทร์บุรี. (ม.ป.ท.).
วันชัย วัฒนศัพท์, ถวิลวดี บุรีกุล และศุภณัฐ เพิ่มพูนวิวัฒน์. (2550). คู่มือเพิ่มพลังความสามารถกระบวนการจัดการข้อพิพาท (พิมพ์ครั้งที่ 2). ศิริภัณฑ์ออฟเซต.
สำนักงานศาลยุติธรรม. (2562). คู่มือการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 https://oja.coj.go.th/th/content/category/detail/id/8/cid/11045/iid/282557
อริยพร โพธิใส. (2565). หลักเกณฑ์การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีอาญา. วารสารจุลนิติ, 19(1), 75-82.