รูปแบบการมีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรมทางการเมืองในประเทศไทย

Main Article Content

ภาคิน โชติเวศย์ศิลป์
ทัชชกร แสงทองดี

บทคัดย่อ

ปัจจุบันจังหวัดพระนครศรีอยุธยายังพบคดีอาชญากรรม คดีอุกฉกรรจ์ คดีสะเทือนขวัญ คดีประทุษร้ายต่อชีวิตร่างกายและทรัพย์สิน ถึงแม้ว่าในเขตพื้นที่ดังกล่าวจะมีภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรม ในการดำเนินกิจกรรมหรือโครงการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องแล้ว แต่ยังพบปัญหาอาชญากรรมที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการเพิ่มมาตรการที่เข้มงวดแล้ว แต่การป้องกันและการควบคุมยังไม่สามารถดำเนินการให้มีประสิทธิภาพได้ ภาครัฐจึงต้องสร้างความร่วมมือกับประชาชนให้เข้ามาช่วยดูแลความปลอดภัย การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรมทางการเมืองภาคประชาชนในประเทศไทย และเพื่อศึกษารูปแบบการมีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรมของการเมืองภาคประชาชนในประเทศไทย เป็นการวิจัยด้วยวิธีผสมผสานคือการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างในการตอบแบบสอบถาม โดยเปิดตารางเครซี่และมอร์แกรน ได้แก่ นักการเมือง ประชาชน ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ ในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 384 คน กลุ่มเป้าหมายในการตอบแบบสัมภาษณ์เชิงลึกโดยเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ นักการเมือง ประชาชน และข้าราชการ จำนวน 5 คน สถิติในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยที่สำคัญคือประชาชนมีส่วนร่วม ในการป้องกันการก่อการร้าย ความขัดแย้งที่เกิดจากการเมืองและดูแลความปลอดภัยมากที่สุด และใช้รูปแบบการช่วยเหลือสนับสนุนกิจกรรมหรือโครงการป้องกันอาชญากรรมคือป้องกันการก่อการร้าย ใช้กระบวนยุติธรรม การช่วยดูแลความปลอดภัย การป้องกันไม่ให้เกิดความขัดแย้งทางการเมือง การป้องกันและต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่น และการป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษณ์ มีบำรุง. (2556). การมีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรม: กรณีศึกษา ชุมชนมัสยิดมหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรังสิต.

ฉัตรชัย ศรีเมืองกาญจนา. (2564). อาชญากรรมข้ามชาติกับความมั่นคงของประเทศไทย. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

นภัสสร รักษากิจโกศล. (2562). แนวทางการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมต่อการแก้ไขสังคม. วารสาร Journal of Roi Kaensarn Academic, 5(1), 1.

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (2564). การมีส่วนร่วมของพลเมืองในการเมือง: ความยั่งยืนของประชาธิปไตย. สถาบันพระปกเกล้า.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. สุวีริยสาสน์.

ปกาศิต เจิมรอด. (2563). การพัฒนาการมีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรมของประชาชนในชุมชนเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา, 12(1), 44.

พิสณุ ฟองศรี. (2549). วิจัยทางการศึกษา. เพชรรุ่งการพิมพ์.

สถานีตำรวจภูธรพระนครศรีอยุธยา. (2559). รายงานคดีอาญาเปรียบเทียบของสถานีตำรวจภูธรพระนครศรีอยุธยา.

สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง. (2562). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันอาชญากรรมข้ามชาติ.

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (2550). แผนปฏิบัติการชุมชนและมวลชนสัมพันธ์ ประจำปี 2550.

สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ. (2559). แผนบริหารจัดการชายแดนด้านความมั่นคง (พ.ศ. 2559-2564). http://www.nsc.go.th/

สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ. (2561). นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2560-2564). http://planning.dld.go.th/

โสภาพรรณ สุริยะมณี. (2559). ศึกษาการนำนโยบายป้องกันอาชญากรรมไปปฏิบัติ: กรณีศึกษาสถานีตำรวจนครบาลกอง บังคับการตำรวจนครบาล 9 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ, 3(2), 132.

อิสเรศ เลิศวิไล. (2562). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมในเขตพื้นที่เทศบาล เมืองอ่างศิลา อําเภอเมือง จังหวัดชลบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. Harper & Row.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Likert, R. (1967). New patterns of management. McGraw-Hill.