การท่องเที่ยวเมืองรองเชิงสร้างสรรค์ในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีจุดประสงค์ในการนำเสนอการพัฒนาการท่องเที่ยวในเมืองรอง ให้เป็นการท่องเที่ยวที่มีความยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 3 ที่ได้ให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงและความเสี่ยงทุกรูปแบบ รวมถึงพัฒนาการท่องเที่ยวให้มีความทันสมัยผ่านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรม และยังสอดคล้องกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ที่ให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวเมืองรอง โดยได้จัดโครงการท่องเที่ยว 55 เมืองรอง 5 ภูมิภาค เพื่อเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวและกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น โดยเจ้าของทรัพยากรในแหล่งท่องเที่ยวจะต้องมีส่วนร่วม ในบทความนี้ได้มุ่งเน้นไปที่เมืองรองในภาคตะวันออกคือ จังหวัดจันทบุรีเนื่องจากเป็นเมืองรองที่มีศักยภาพ มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงาม มีแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ รวมทั้งเป็นพื้นที่ผลิตผลไม้ที่สำคัญ จึงสามารถพัฒนาการท่องเที่ยวในจังหวัดผสานกับการใช้การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เพื่อให้นักท่องเที่ยวและคนที่เป็นเจ้าของสถานที่ท่องเที่ยวได้เกิดโอกาสในการสื่อสารและเรียนรู้วิถีวัฒนธรรมผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย ซึ่งนำไปสู่การสร้างสรรค์สิ่งใหม่หรือแนวปฏิบัติที่ถูกใจทั้งนักท่องเที่ยวและเจ้าของพื้นที่
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
อยู่ระหว่างการปรับปรุง (ลิขสิทธิ์และการรับผิดชอบ)
References
กองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ. (2565). เปิดประสบการณ์ใหม่เที่ยว “เมืองรอง” ททท.กระตุ้นคนไทยเที่ยวกระจายทั่วประเทศ. https://www.thairath.co.th/business/economics/2453760
กองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ. (2566). คาดหวังท่องเที่ยว 2566 ช่วยพลิกฟื้นเศรษฐกิจไทย. https://www.thairath.co.th/business/economics/2591676
กองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ. (2566). "365 มหัศจรรย์เมืองไทยเที่ยวได้ทุกวัน" ททท.ปลุกกระแสใหม่ ทำให้ทุกเวลาเป็น "ไฮซีซัน". https://www.thairath.co.th/business/feature/2593351
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2558). ประเภทการท่องเที่ยว. https://sites.google.com/site/archcommunitydevelopment/tourism
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.. (2562). 55เมืองรอง ต้องลอง. https://www.chillpainai.com/scoop/10874/
คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาการทิ่งเที่ยวแห่งชาติฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2566 – 2570). https://anyflip.com/zzfck/kiel/basic.
จันทบุรีเมืองรองมาแรง. (2561, 6 กุมภาพันธ์). TAT Review Magazine. https://tatreviewmagazine.com/article/chanthaburi-12-hidden-gems/
จิรวัฒน์ ศิริพานิชย์ และภักดี โพธิ์สิงห์. (2562). เศรษฐกิจการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์กับการพัฒนาประเทศ. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 4(2), 114-127.
ดวงกมล ยางงาม และวดี วรรณา. (2563). การนำนโยบายการท่องเที่ยวเมืองรองไปปฏิบัติกรณีศึกษา: การท่องเที่ยวชมวิถีชีวิตชนบท จังหวัดจันทบุรี. วารสารวิชาการมนุษย์และสังคมศาสตร์รำไพพรรณี, 1(1), 14-29.
นันทิยา ตันตราสืบ และวารัชต์ มัธยมบุรุษ. (2561). วัฒนธรรมอาหารพื้นถิ่นสู่รูปแบบการท่องเที่ยวอาหารในจังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้แนวคิดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. วารสารอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน, 9(1), 139 - 158.
เปิดแผนพัฒนาท่องเที่ยวแห่งชาติฉบับที่ 3 เข็มทิศนำทางอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย. (2564). สยามรัฐออนไลน์. https://siamrath.co.th/n/277098
พจนา สวนศรี. (2546). การจัดการนันทาการและการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรรมิราช.
พลอยจันทร์ สุขคง. (2561). สุขทุกวัน…ที่จันทบุรี ครบเครื่องเรื่องธรรมชาติ และวิถีถิ่น ต้นแบบเมืองรองที่ประสบผลสำเร็จ. https://thestandard.co/go-local-chanthaburi/
ภัยมณี แก้วสง่า และนิศาชล จำนงศรี. (2555). การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ : ทางเลือกใหม่ของการท่องเที่ยวไทย, Suranaree Journal of Social Science, 6(1), 92-109.
ภูริวัจน์ เดชอุ่ม. (2556). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ : กรอบแนวคิดสู่แนวทางปฏิบัติสำหรับประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 33(2), 331-366.
วารัชต์ มัธยมบุรุษ. (2562). โครงสร้างของระบบการท่องเที่ยว. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 14(1), 94-102.
ศิริขวัญ วิเชียรเพลิศ (2564). ข้อเสนอแนวทางการส่งเสริมท่องเที่ยวเมืองรองเพื่อกระจายรายได้จากการท่องเที่ยว.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570). https://www.nesdc.go.th/download/Plan13/Doc/Plan13_DraftFinal.pdf
สำนักงานจังหวัดจันทบุรี. (2565). แผนพัฒนาจังหวัดจันทบุรี (พ.ศ. 2566 – 2570). https://www.chanthaburi.go.th/files/com_news_devpro/202212_b87deded14ae58a.pdf
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมตชนตรี ทำเนียบรัฐบาล. (2566). ครม. เห็นชอบแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2566-70. https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/63364
สุดแดน วิสุทธิลักษณ์ และคณะ. (2556). การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน).
BLT Bangkok. (2561). เที่ยวเมืองรอง ลดหย่อนภาษีปี 61. http://www.bltbangkok.com/CoverStory.
Goeldner, C. & Ritchics, B.J. (2006). Tourism: Principles, practices, philosophies. John Wiley.
Raymond, C. (2008). The practical challenges of developing creative tourism: A cautionary tale from New Zealand. In R. Wurzburger, et al. (Eds.), Creative tourism, a global conversation: How to provide unique creative experiences for travelers worldwide. Sunstone Press.