การยกระดับเครื่องเงินแบบดั้งเดิมของชนเผ่าเหมียวเมืองเซียงซี สู่ชุดเครื่องประดับเงินร่วมสมัย

Main Article Content

เจีย เหลียง
บุญชู บุญลิขิตศิริ
รสา สุนทรายุทธ

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยเรื่อง “การยกระดับเครื่องเงินแบบดั้งเดิมของชนเผ่าเหมียวเมืองเซียงซีสู่ชุดเครื่องประดับเงินร่วมสมัย” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์ชนเผ่าเหมียวเมืองเซียงซีและวิวัฒนาการเครื่องประดับเงินของชนเผ่าเหมียวเมืองเซียงซี ตลอดจนศึกษาสัญลักษณ์และความหมายเชิงสัญลักษณ์ที่ปรากฏอยู่บนเครื่องประดับเงินและนำลวดลายสัญลักษณ์นั้นมาใช้ออกแบบเครื่องประดับเงินใหม่เพื่ออนุรักษ์และสืบทอดเครื่องประดับเงินของชนเผ่าเหมียว จากการศึกษาพบว่า ชนเผ่าเหมียวเป็นชนเผ่าที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 5,000 ปี ตลอดทุกยุคทุกสมัยเครื่องประดับเงินล้วนมีบทบาทที่สำคัญยิ่ง ความพิเศษเฉพาะของเครื่องประดับเงินไม่ใช่แค่การใช้งานในชีวิตประจำวันเท่านั้นแต่ยังเป็นเครื่องบันทึกทางประวัติศาสตร์ เช่น สงครามชนเผ่า การอพยพย้ายถิ่นฐาน การแบ่งแยกตระกูล สถาบันครอบครัว ความเจริญทางวัฒนธรรมและการบูชาธรรมชาติ เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้ได้สร้างเอกลักษณ์ทางศิลปะให้กับเครื่องประดับเงินของชนเผ่าเหมียวทั้งในด้านรูปแบบที่หลากหลาย ลวดลายที่สมบูรณ์และความมีชีวิตชีวาที่สดใส อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันเครื่องประดับเงินแบบดั้งเดิมของชนเผ่าเหมียวเมืองเซียงซีกำลังประสบปัญหาถูกแทนที่ด้วยเครื่องประดับเงินสมัยใหม่และขาดผู้สืบทอด ดังนั้นเพื่ออนุรักษ์และสืบทอดเครื่องประดับเงินแบบดั้งเดิมเอาไว้ ผู้วิจัยจึงได้ดำเนินการดังนี้ 1. สกัดพันธุกรรมลวดลายดั้งเดิมเพื่อรักษารูปแบบลวดลายดั้งเดิม 2. นำเอาลวดลายดั้งเดิมมาออกแบบเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องประดับเงินร่วมสมัยให้เหมาะสมกับยุคปัจจุบันและวิถีชีวิตประจำวันของผู้คนทั่วไป 3. การแสดงผลงานด้วยเทคโนโลยีการฉายภาพโฮโลแกรมทำให้สามารถบันทึกภาพเครื่องประดับเงินแบบดั้งเดิมได้ทุกชิ้น การจำลองภาพของวัตถุหลังเกิดความเสียหายและสามารถนำผู้เข้าชมเข้าสู่โลกเสมือนจริงของการรับชมเครื่องประดับเงินชนเผ่าเหมียว จากการดำเนินการดังกล่าวพบว่า ก่อให้เกิดการอนุรักษ์ ปกป้องและสืบทอดรูปแบบเครื่องประดับเงินแบบดั้งเดิมของชนเผ่าเหมียวในเมืองเซียงซี ทำให้คนรุ่นหลังได้รู้จักประวัติศาสตร์อันรุ่งโรจน์ งานฝีมือและความหมายทางวัฒนธรรมของเครื่องประดับเงินชนเผ่าเหมียว ตลอดจนก่อให้เกิดการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมชาติและวัฒนธรรมดิจิทัลบนเส้นทางใหม่ที่ต่างจากในอดีตและเพิ่มขีดความสามารถให้กับอุตสาหกรรมการออกแบบร่วมสมัยในประเทศจีน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

An, C. (2015). Research on the application of Miao traditional silver ornament patterns (Master's Thesis). South-Central Minzu University.

Du, P. (2016). Research on the changes of folk beliefs of historical immigrant groups of Miao nationality (Doctoral dissertation). Hubei University for Nationalities.

Hu, J. (2017). Research on jewelry redesign based on traditional patterns of Miao silver jewelry in Shidong (Master's Thesis). Sichuan Normal University.

Huo, K. (2009). The Aesthetic Consciousness of Dragon Symbols of Miao and Its Application in jewelry design (Master Thesis). Beijing University of Geosciences.

Liu, P. (2012). The value of Miao silver jewelry in modern costume design (Master's Thesis). Hunan Normal University.

Tian, A. (2009). A study on the aesthetic value of the silver ornaments of the Miao nationality in Xiangxi (Master's Thesis). Zhejiang Normal University.

Tian, T., Tian, M., Chen, Q., & Shi, Q. (2010). Silverware technician of Miao nationality in Xiangxi. Hunan Normal University Press.

Wu, S. (2009). Complete works of Chinese patterns. Shandong Fine Arts Publishing House.

Xu, J. (2018). A Preliminary Study of the Miao People's Silver Ornament Patterns in Xiangxi. Home Drama, 3, 87.

Xu, S. (2017). Miao silver ornament craftsmanship in Qiandongnan. Modern Decoration (Theory), 1, 37.

Yu, Y. (2009). Gold and silverware unearthed in Hunan. Hunan Fine Arts Publishing House.

Zhu, X. (2007). Exploring the intrinsic value of Miao nationality's silver ornaments from the constitution art (Master Thesis). Tianjin University.