การพัฒนาผลการเรียนรู้ เรื่อง สัตว์มีกระดูกสันหลัง โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านโท้งวิทยา

Main Article Content

ณัฐพัชร์ อินพรมมา
ชมภูคำ ชมภูคำ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและประเมินความเหมาะสมของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องสัตว์มีกระดูกสันหลัง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านโท้งวิทยา 2) ศึกษาผลการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ด้านความรู้ ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ทางวิทยาศาสตร์ โรงเรียนบ้านโท้งวิทยา จากการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องสัตว์มีกระดูกสันหลัง กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบ้านโท้งวิทยา อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 1 ห้องเรียน 20 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องสัตว์มีกระดูกสันหลัง 2) แบบทดสอบความรู้ก่อนเรียนและหลังเรียน 3) แบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 4) แบบวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ทางวิทยาศาสตร์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการประเมินความเหมาะสมของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยผู้เชี่ยวชาญ อยู่ในระดับมากที่สุด 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง สัตว์มีกระดูกสันหลัง เมื่อทดสอบค่าเฉลี่ย t - test พบว่าคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3) ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องสัตว์มีกระดูกสันหลังมีระดับคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก 4) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง สัตว์มีกระดูกสันหลังมีระดับคุณภาพอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

จิระพงศ์ ฉันทพจน์. (2564). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนออนไลน์ รายวิชาวิทยาการคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 15(1), 11-25.

เบ็ญจา สุระขันธ์,อุดม รัตนอัมพรโสภณ และปริญญา ทองสอน. (2563). การจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามทฤษฎีสร้างสรรค์ด้วยปัญญาเพื่อพัฒนาการคิดอย่างมีเหตุผล สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. e-Journal of Education Studies,Burapha University, 2(2), 60-75.

พรรณนิภา ทับทิมเมืองและอัญชลี ทองเอม. (2560). การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที 4 โดยใช้การทดลองทางวิทยาศาสตร์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

พิชญ์สินี ชมภูคำ. (2565). การวิจัยหลักสูตรและการสอน. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาร์อิสเทอร์น.

รัตนะ บัวสนธ์. (2563). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อวยพร ดําริมุ่งกิจ และสุรีย์พร สว่างเมฆ. (2565). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนร่วมกับแนวคิดเกมมิฟิเคชัน เพื่อพัฒนามโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์เรื่องระบบภูมิคุ้มกันสำหรับนักศึกษาครูวิทยาศาสตร์. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 8(12), 29-44.

Gulzar, A. A. (2022). CAI-Computer Assisted Instruction. https://educarepk.com/cai-computer-assisted-instruction.html.

Adams, S. O., & Onwadi, R. U. (2020). An empirical comparison of computer-assisted instruction and field trip instructional methods on teaching of basic science and technology curriculum in Nigeria. International Journal of Social Sciences & Educational Studies, (4), 22-35.

The Access Center. (2023). Computer-assisted instruction and reading. https://www.readingrockets.org/article/computer-assisted-instruction-and-reading.