ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงิน โครงสร้างผู้ถือหุ้นกับการตัดสินใจลงทุนในหลักทรัพย์ของกลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้าง ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

Main Article Content

ภัทรานิษฐ์ สร้อยคำ
พรรณทิพย์ อย่างกลั่น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินโครงสร้างผู้ถือหุ้นกับการตัดสินใจลงทุนในหลักทรัพย์ของกลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้าง ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยผู้ศึกษาได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ จากงบการเงินของบริษัท จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ และการก่อสร้าง ตั้งแต่ ปีพ.ศ. 2563 – 2565 รวมระยะเวลา 3 ปี โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษามีทั้งหมด 77 บริษัท มีทั้งสิ้น 231 ข้อมูล ที่มาจากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง การศึกษาครั้งนี้ใช้การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา เพื่ออธิบายลักษณะทั่วไปของข้อมูล และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณในการทดสอบสมมติฐาน
ผลการวิจัย พบว่า ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับราคาหลักทรัพย์ (Price) ของกลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ และการก่อสร้างที่จดทะเบียนในหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยคืออัตราส่วนกำไรต่อหุ้น (EPS) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับอัตราเงินปันผลตอบแทน (DY) ของกลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างที่จดทะเบียนในหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยคืออัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน (CR) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และตัวแปรที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับอัตราส่วนราคาตลาดต่อมูลค่าตามบัญชี (P/BV) ของกลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างที่จดทะเบียนในหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยคืออัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวม (ROA) และอัตราส่วนผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 นอกจากนี้ยังพบว่าโครงสร้างผู้ถือหุ้นไม่มีความสัมพันธ์กับราคาหลักทรัพย์ (Price) อัตราเงินปันผลตอบแทน(DY)และอัตราส่วนราคาตลาดต่อมูลค่าตามบัญชี (P/BV)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จ๊อบส์ ดีบี. (2566). การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์เกี่ยวกับตัวเราอย่างไร? บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด. https://th.jobsdb.com/th/career-advice/article/ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์

เฉลิมขวัญ ครุธบุญยงค์. (2557). หลักการลงทุน. ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ฐาปกรณ์ เจียรนันทพิสุทธ์. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างกระแสเงินสดและความสามารถในการทำกำไรกับการประเมิน มูลค่าหุ้นของบริษัทกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2565). ความเป็นมาและบทบาทของตลาดหลักทรัพย์. https://www.set.or.th/th/about/overview/journey

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2566). อัตราส่วนทางการเงิน. https://www.setsmart.com/ssm/stockScreening;market=all;securityType=S;industrySector

ธีรพงษ์ กรรณิกา. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับราคาหุ้นและอัตราเงินปันผลตอบแทนของกลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

โพยมรัตน์ มหาโชติ. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างผลการดำเนินงานโครงสร้างคณะกรรมการบริษัทและโครงสร้างผู้ถือหุ้นกับประสิทธิภาพการจ่ายเงินปันผลของกลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

มนัส หัสกุล. (2564). อัตราส่วนทางการเงินที่ส่งผลต่ออัตราเงินปันผลตอบแทนและอัตราการจ่ายเงินปันผลของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่ม SET 100 [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ศราวุธ สร้อยทอง. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างผลการดำเนินงานกับการประเมินมูลค่าหุ้นของบริษัทกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2551). ความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัทโครงสร้างของผู้ถือหุ้นกับมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐศาสตร์. วารสารวิชาชีพบัญชี, 4(10), 26-39.

ศิวัช จันทรโชติ. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนกลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สมเกียรติ์ ไพโรจน์. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับมูลค่าหุ้นและอัตราเงินปันผลตอบแทนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

สาริยา นวลถวิล. (2562). อัตราส่วนทางการเงินที่ส่งผลต่อการจ่ายเงินปันผลของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์. (2560). ผลตอบแทนที่คาดหวัง. https://member.set.or.th/set/financialplanning/glossary.do?contentId=23

สุภาวรรณ สุจารี. (2564). อัตราส่วนสภาพคล่องและอัตราส่วนแสดงความสามารถในการทำกำไรที่มีอิทธิพลต่ออัตราส่วนมูลค่าตลาดของกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมของกิจการที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.