ปัญหาทางกฎหมายของการได้มาซึ่งนายกสภา กรรมการสภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยและผู้บริหารจากการตราข้อบังคับมหาวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึง 1) แนวความคิด ทฤษฎีของการได้มาซึ่งนายกสภามหาวิทยาลัย กรรมการสภามหาวิทยาลัยและผู้บริหารจากการตราข้อบังคับมหาวิทยาลัยตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 2) เพื่อศึกษา วิเคราะห์ถึงปัญหาทางกฎหมายของการได้มาซึ่งนายกสภามหาวิทยาลัย กรรมการสภามหาวิทยาลัยและผู้บริหารจากการตราข้อบังคับมหาวิทยาลัยตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการได้มาซึ่งนายกสภามหาวิทยาลัย กรรมการสภามหาวิทยาลัยและผู้บริหารจากการตราข้อบังคับมหาวิทยาลัยตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพในลักษณะของการวิจัยเอกสารโดยการศึกษาค้นคว้าเอกสารของประเทศไทยและประเทศสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ประเทศฝรั่งเศส และการสัมภาษณ์เจาะลึกโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจงและโดยวิธีการสนทนากลุ่ม ผลการศึกษา พบว่า การได้มาซึ่งนายกสภามหาวิทยาลัย กรรมการสภามหาวิทยาลัยและผู้บริหารจากการตราข้อบังคับของมหาวิทยาลัยว่าด้วยการสรรหาตำแหน่งดังกล่าวที่ขัดต่อพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 หรือขัดต่อกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นกฎหมายที่เป็นฐานอำนาจและมีลำดับศักดิ์ของกฎหมายที่สูงกว่าข้อบังคับของมหาวิทยาลัย จึงไม่อาจใช้บังคับได้ ขัดต่อหลักความชอบด้วยกฎหมาย ข้อบังคับของมหาวิทยาลัยแตกต่างกันที่ขัดต่อกฎหมายและไม่มีกระบวนการตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปประกาศใช้ แนวปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษา หากมีข้อความขัดแย้งกับพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 ไม่อาจใช้บังคับได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
อยู่ระหว่างการปรับปรุง (ลิขสิทธิ์และการรับผิดชอบ)
References
กฤษณพงศ์ กีรติกร. (2558). ชงตั้งอนุกรรมการฯ คุมธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย. เดลินิวส์ออนไลน์. http://www.dailynews.co.th
ขติยา มหาสินธ์. (8 ธันวาคม 2555). ถึงเวลาสังคายนาสภามหาวิทยาลัย. มติชน, 16.
คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 39/2559 เรื่อง การจัดระเบียบและแก้ไขปัญหาธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษา. (2559). ราชกิจจานุเบกษา, 133(155 ก), 21-24.
จรัญ โฆษณานันท์. (2547). นิติปรัชญา (พิมพ์ครั้งที่ 12). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
จิรนิติ หะวานนท์. (2554). คำอธิบายกฎหมายปกครอง (ภาคทั่วไป) (พิมพ์ครั้งที่ 6). สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา.
ชาญชัย แสวงศักดิ์. (2552). กฎหมายรัฐธรรมนูญ: แนวคิดและประสบการณ์ของต่างประเทศ. วิญญูชน.
ชาญชัย แสวงศักดิ์. (2555). คำอธิบายกฎหมายปกครอง (พิมพ์ครั้งที่ 19). วิญญูชน.
นันทวัฒน์ บรมานันท์. (2557). กฎหมายปกครอง (พิมพ์ครั้งที่ 4). วิญญูชน.
แนวปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษา. (2564). ราชกิจจานุเบกษา, 138(311 ง), 23-35.
แนวปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ 2). (2565). ราชกิจจานุเบกษา, 139(295 ง), 66-69.
บุญศรี มีวงศ์อุโฆษ. (2549). กฎหมายรัฐธรรมนูญ. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ปรีดี เกษมทรัพย์. (2555). นิติปรัชญาเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 15). วิญญูชน.
เปรื่อง กิจรัตน์ภร. (2552). มุมมองต่อการกำกับดูแลมหาวิทยาลัย. จดหมายข่าวธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย, 4(1), 7.
พระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2547. (2547). ราชกิจจานุเบกษา, 121(70 ก), 33-55.
พระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551. (2551). ราชกิจจานุเบกษา, 125(28 ก), 36-43.
พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ พ.ศ. 2558. (2558). ราชกิจจานุเบกษา, 132(86 ก), 45-63.
พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. 2548. (2548). ราชกิจจานุเบกษา, 122(6 ก), 17-45.
พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547. (2547). ราชกิจจานุเบกษา, 121(23 ก), 1-24.
พิกุล ภูมิโคกรักษ์. (2550). รูปแบบการบริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏภายใต้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยบูรพา.
ภัทรนันท์ พัฒิยะ. (2542). โครงสร้างการบริหารการศึกษาสาธารณรัฐฝรั่งเศส. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
แห่งชาติ.
ภาวิช ทองโรจน์. (2553). ธรรมาภิบาลและบทบาทหน้าที่ของสภามหาวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
มนตรี รูปสุวรรณ. (2551). บทวิเคราะห์ทางวิชาการเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550.วิญญูชน.
วิจารณ์ พานิช. (2551). กลไกกำกับดูแลสถาบันอุดมศึกษา. สถาบันคลังสมองของชาติ.
วิจารณ์ พานิช. (2553). นานาสาระเกี่ยวกับสภามหาวิทยาลัย. จดหมายข่าวธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย, 2(1), 16-17.
วิจิตร ศรีสอ้าน. (2542). แนวคิดและแนวปฏิบัติของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาล. อนุสารอุดมศึกษา, 25(248), 16.
วิชัย ตันศิริ. (2542). คำอธิบายพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (พิมพ์ครั้งที่ 2). วิญญูชน.
สมคิด เลิศไพฑูรย์. (2563). คดีปกครองว่าด้วยอายุของอธิการบดีในมหาวิทยาลัยของรัฐ. วารสารนิติศาสตร์, 49(1), 20-22.
สมยศ เชื้อไทย. (2555). นิติปรัชญาเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 15). วิญญูชน.
Aristotle. (n.d.). Nicomachean Ethics, book 5, chap 7. [n.p.].
Chapus, R. (2001). Droit administrative general. T1. Montchrestien.
Cohen, J. M., & Uphoff, N. T. (1984). Participation’s place in rural development: Seeking claritythrough specificity. World Development, 8(3), 213-235.
Cohen, J. M., & Uphoff, N. (1984). Rural development participation: Concept and measures for project design implementation and evaluation. Rural Development Committee, Center for International Studies, Cornell University.
Davis, K. (1972). Human behavior at work: Human relations and organizational behavior. McGraw-Hill.
Dicey, A. V. (1959). Introduction to the study of the law of the constitution (10th ed.). English Language Book Society and Macmillan.
Friedman, W. (1967). Legal theory. Columbia University Press.
Laubadere, A. D., Venezia, J. C., et Gaudemet, Y. (2002). Droit administrative (17e edition). L.G.D.J.
Tamanaha, B. Z. (2004). On the rule of law: History, politics, theory. Cambridge University Press.
Walter, J. (1966). Verwaltungsrecht (3 Aufl.). Offenburg.