ผลของการใช้รูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยที่ส่งเสริมความรู้และทักษะการพูด เพื่อการสื่อสารของนักศึกษาวิชาชีพครู

Main Article Content

พรรณิการ์ สมัคร
สุวรรณา จุ้ยทอง
กันต์ฤทัย คลังพหล
พิทักษ์ นิลนพคุณ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยที่ส่งเสริมความรู้และทักษะการพูดเพื่อการสื่อสารของนักศึกษาวิชาชีพครู 2) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยที่ส่งเสริมความรู้และทักษะการพูดเพื่อการสื่อสารของนักศึกษาวิชาชีพครู กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 46 คน โดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดความรู้ด้านการพูดเพื่อการสื่อสารของนักศึกษาวิชาชีพครู มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85 3) แบบวัดทักษะการพูดเพื่อการสื่อสารของนักศึกษาวิชาชีพครู มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97
ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการเรียนการสอน ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1. หลักการ 2. วัตถุประสงค์ 3. เนื้อหาสาระ 4. ขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน 5. การวัดและประเมินผล 6. ปัจจัยสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน 2) ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอน พบว่า (1) ความรู้ด้านการพูดเพื่อการสื่อสารของนักศึกษาวิชาชีพครู หลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) พัฒนาการของทักษะการพูดเพื่อการสื่อสารของนักศึกษาวิชาชีพครู จากการวัดซ้ำจำนวน 4 ครั้ง เพิ่มขึ้นในแต่ละครั้ง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกรียงศักดิ์ ฐานะกอง และนิธิดา อดิภัทรนันท์. (2560). การใช้กิจกรรมการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารเพื่อเพิ่มพูนความสามารถในการฟัง-พูดภาษาอังกฤษและความรู้ด้านไวยากรณ์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(4), 51-64.

ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. (2562). ราชกิจจานุเบกษา, 136(68 ง), 18-20.

ไชยวัฒน์ อารีโรจน์. (2557). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการพูดรายงานการศึกษาค้นคว้าสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ทิศนา แขมมณี. (2561). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดการกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธรรมโชติ เอี่ยมทัศนะ. (2561). ผลของการฝึกพฤติกรรมที่เหมาะสมที่มีต่อการพูดหน้าชั้นเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนทรงวิทยา จังหวัดสมุทรปราการ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

บัณฑิกา จารุมา และพะยอม ก้อนในเมือง. (2563). วิธีพัฒนาทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทัศน์, 6(1), 413-428.

บุญรอด โชติวชิรา. (2564). การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ส่งเสริมทักษะการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารอย่างสันติในศตวรรษที่ 21 ให้แก่นักศึกษาครูภาษาไทย. วารสารภาษาและวัฒนธรรม, 40(1), 1-31.

เบญจวรรณ ศริกุล. (2561). การเสริมสร้างทักษะภาษาไทยเพื่อการสื่อสารสำหรับนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษากลุ่มภาคใต้ตอนบน [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พิณสุดา สิริรังธศรี. (2557). เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ “อภิวัฒน์การเรียนรู้ สู่จุดเปลี่ยนประเทศไทย 6-8 พฤษภาคม 2557: การยกระดับครูไทยในศตวรรษที่ 21. สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพของเยาวชน.

ภาสพงศ์ ผิวพอใช้. (2555). การพัฒนาหลักสูตรแบบเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ โดยใช้แนวคิดภาษาศาสตร์สังคมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการสนทนาภาษาไทยสำหรับผู้เรียนชาวต่างชาติ [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. (2553). ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม (พิมพ์ครั้งที่ 7). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุไร ซิรัมย์, พรทิพย์ ไชยโส, พิกุล เอกวรางกูร, และทรงชัย อักษรคิด. (2563). เทคนิคการประเมินการเรียนรู้ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 20(1), 193-206.

Joyce, B., Well, M., & Showers, B. (2011). Models of teaching. Allyn and Bacon.