การพัฒนาเครือข่ายการดูแลทางสังคมสำหรับกลุ่มผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ติดเชื้อเอชไอวี และสตรีตั้งครรภ์ไม่พร้อมของสหวิชาชีพเพื่อสนับสนุนระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อรายงานสถานการณ์ของผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ติดเชื้อ HIV และสตรีตั้งครรภ์ไม่พร้อม 2) เพื่อพัฒนาเครือข่ายการดูแลทางสังคม สำหรับผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ติดเชื้อ HIV และสตรีตั้งครรภ์ไม่พร้อมของสหวิชาชีพ และ 3) เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลทางสังคมประยุกต์การปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ดิจิทัลปฏิบัติการแบบออนไลน์ โดยเก็บข้อมูลผู้ป่วย 100 คน ในช่วงเดือนเมษายน - ธันวาคม 2565 ตามกำหนดเงื่อนไขจากโครงการพัฒนาและเสริมสมรรถนะกลไกและเครือข่ายการดูแลทางสังคมของสหวิชาชีพเพื่อสนับสนุนระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ ผู้วิจัยใช้เครื่องมือการปฏิบัติงานทางสังคมสงเคราะห์ และบันทึกข้อมูลในระบบ Platform Social Telecare ผลการศึกษา แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ป่วยสูงอายุ 75 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 76 ปี สถานภาพหม้าย การศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษา มีสิทธิบัตรทอง ไม่ได้ประกอบอาชีพ มีรายได้ต่ำกว่า 1,000 บาท มาจากเบี้ยผู้สูงอายุและเบี้ยผู้พิการ ไม่มีหนี้สิน ส่วนใหญ่อยู่ในภาวะไม่พึ่งพา สามารถช่วยเหลือตนเองได้ สตรีตั้งครรภ์ไม่พร้อม 15 คน อายุเฉลี่ย 24 ปี สถานภาพโสด การศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษา มีสิทธิบัตรทอง ไม่ได้ประกอบอาชีพ มีรายได้ต่ำกว่า 1,000 บาท จากการประกอบอาชีพ ไม่มีหนี้สิน ผู้ติดเชื้อ HIV 10 คน อายุเฉลี่ย 42 ปี เป็นเพศหญิงและเพศชายเท่ากัน สถานภาพโสด การศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น มีสิทธิบัตรทอง ไม่ได้ประกอบอาชีพ มีรายได้มากกว่า 5,000 บาท จากการประกอบอาชีพ ไม่มีหนี้สิน ภาพรวมผู้ป่วยส่วนใหญ่มีปัญหาด้านการเงิน ร้อยละ 77 และความพร้อมของครอบครัวอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 42 โดยได้รับการช่วยเหลือตามสภาพปัญหาและความต้องการ จากการ การเสริมพลังอำนาจ การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม การจัดการทรัพยากรทางสังคม และการบริการทางสังคม ผู้ป่วยสามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติ จากผลการวิจัย ผู้วิจัยดำเนินการจัดบริการทางสังคมให้แก่ผู้ป่วยทั้ง 3 กลุ่ม ดังนั้น การพัฒนาเครือข่ายการดูแลทางสังคมโดยมีเครือข่ายทางสังคมดูแลผู้ป่วยแบบบูรณาการช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการช่วยเหลืออย่างเป็นองค์รวมและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
อยู่ระหว่างการปรับปรุง (ลิขสิทธิ์และการรับผิดชอบ)
References
จิราภรณ์ ฉัตรศุภกุล และปนัดดา ภูบรรทัด. (2566). การพัฒนารูปแบบการดูแลแบบบูรณาการสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมไม่ดีเครือข่ายสุขภาพ อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและ สุขภาพชุมชน, 8(1), 97-108.
บูรณประภา มาพบ, อุษนีย์ รามฤทธิ์, และอรวรรณ อุติลา. (2566). ผลการพัฒนาเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา, 8(1), 313-323.
ปติมา หิริสัจจะ. (2565). การพัฒนารูปแบบของกลไกการดูแลและช่วยเหลือวัยรุ่นตั้งครรภ์ จังหวัดสระบุรี: การวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม, 45(4), 81-94.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์. (2565). ข้อเสนอโครงการพัฒนาและเสริมสมรรถนะกลไกและเครือข่ายการดูแลทางสังคมของสหวิชาชีพเพื่อสนับสนุนระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิปี 2565.
โรงพยาบาลนพรันตราชธานี. กลุ่มงานสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์. (2565). รวมรายงานผลงานด้านการปฏิบัติงานประจำปีงบประมาณ 2564.
วันทนีย์ ธารณธนบูลย์. (2562). การประเมินรูปแบบการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ของภาคีเครือข่ายบริการสุขภาพ อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารโรคเอดส์, 31(2), 70-84.
สมจันทร์ ศรีปรัชยานนท์ และปาณิสรา เทพรักษ์. (2564). การพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุของโรงเรียน ผู้สูงอายุจังหวัดลำปาง. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์, 4(1), 67-82.
สมพงษ์ จันทร์โอวาท, นวรัตน์ บุญนาน, และสุภาพร สุโพธิ์. (2558). การเสริมสร้างศักยภาพเครือข่ายบริการสุขภาพในการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 12(2),129-134.
อัครินทร์ สูฝน, ไพรจิตร ศิริมงคล, และฉวีวรรณ ศรีดาวเรือง. (2563). การพัฒนาเครือข่ายปากสวยโมเดลต่อการดูแลผู้ป่วยวัณโรค. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร, 23(2), 93-103.