เกณฑ์และตัวชี้วัดระบบ กลไก รูปแบบเครือข่ายการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมของพื้นที่การศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) พัฒนาเกณฑ์และตัวชี้วัดของระบบ กลไก รูปแบบเครือข่ายการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมของพื้นที่การศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี 2) ตรวจสอบและยืนยันเกณฑ์และตัวชี้วัดของระบบ กลไก รูปแบบเครือข่ายการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมของพื้นที่การศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี เป็นการวิจัยเชิงปฎิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) โดยใช้โรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 5 โรงเรียน เป็นกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ โรงเรียนเทพมงคลรังษี โรงเรียนทองผาภูมิ โรงเรียนบ้านซ่อง โรงเรียนบ้านตลุงเหนือ และโรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านบ่อ) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกภาคสนาม และแบบสอบถามยืนยันเกณฑ์และตัวชี้วัด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า 1. เกณฑ์และตัวชี้วัดของระบบ กลไก รูปแบบเครือข่ายการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมของพื้นที่การศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี ประกอบด้วย 2 ระดับ ได้แก่ ระดับสถานศึกษา ประกอบด้วย 1) ด้านปัจจัยนำเข้า ประกอบด้วย วิสัยทัศน์ นโยบาย แผนกลยุทธ์ สมรรถนะผู้บริหาร บทบาทของครู บทบาทของกรรมการสถานศึกษา ภาคีเครือข่าย และโครงสร้างเครือข่ายความร่วมมือ 2) ด้านกระบวนการ ประกอบด้วย การบริหารจัดการเครือข่ายที่ดี ได้แก่ การมีแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมประจำปีร่วมกับภาคีเครือข่าย มีการดำเนินการตามแผน มีการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และมีการรายงานความสำเร็จให้ภาคีเครือข่าย 3) ด้านผลผลิต ประกอบด้วย นวัตกรรมการบริหาร นวัตกรรมการจัดการเรียนการรู้ของครู นวัตกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ประกอบด้วย การจัดตั้งทีมงานหลัก (Core Team) เพื่อเป็นหน่วยเชื่อมประสานระหว่างสถานศึกษา เขตพื้นที่ และจังหวัด เพื่อผลักดันการขับเคลื่อนการดำเนินงานในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ทำหน้าที่แสวงหา และระดมทรัพยากร ทางการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของจังหวัดกาญจนบุรี และสร้างพันธะสัญญาในเครือข่ายโดยใช้ความร่วมมือร่วมใจเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี 2. ผลการตรวจสอบ ยืนยันเกณฑ์และตัวชี้วัดของระบบ กลไก รูปเครือข่ายการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมของพื้นที่การศึกษา จังหวัดกาญจนบุรีโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน พบว่า มีความถูกต้อง เหมาะสม เป็นไปได้ และเป็นประโยชน์
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
อยู่ระหว่างการปรับปรุง (ลิขสิทธิ์และการรับผิดชอบ)
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้คณะกรรมการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ. 2550. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). โครงการพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา “สนามปฏิบัติการเพื่อสร้างนวัตกรรมการศึกษาของประเทศ”. [ม.ป.ท.].
จอมพงศ์ มงคลวนิช. (2555). การบริหารองค์การและบุคลากรทางการศึกษา. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จิรภัทร มหาวงค์, วิทยา จันทร์ศิลา, และทำรงลักษณ์ เอื้อนครินทร์. (2559). การพัฒนารูปแบบการบริหารเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของโรงเรียนในถิ่นทุรกันดารบนเขตพื้นที่สูง. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 18(4), 114-127.
ดำรง วงศ์ดี. (2558). ภาวะผู้นำสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาในอนาคต. http://www.kroobannok.com/blog/38869
ธนากร นาควรรณ, อโนทัย ประสาน, และธีรพงษ์ สมเขาใหญ่. (2562). การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 12. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(7), 3263-3284.
ปารณทัตต์ แสนวิเศษ. (2555). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนประถมศึกษา: การสร้างทฤษฎีจากฐานราก. วารสารบริหารการศึกษา มศว, 9(16), 69-82.
พระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาพุทธศักราช 2562. (2562). ราชกิจจานุเบกษา, 136(56 ก), 102-120.
พิสิฐ เทพไกรวัล. (2554). การพัฒนารูปแบบเครือข่ายความร่วมมือเพื่อคุณภาพการจัดการศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
พีรพัฒน์ รุ่งเรือง. (2561). ยุทธศาสตร์การสร้างภาคีเครือข่ายในการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น[วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ฟิกรี แก้วนวล. (2560). การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารงานโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดปัตตานี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
วิเชียร ทรงศรี, สุนันทร์ ศลโกสุม, และรัตนะ บัวสนธ์. (2558). การพัฒนารูปแบบการบริหารเครือข่ายโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. คลังข้อมูลดิจิทัลมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. http://dspace.bru.ac.th/xmlui/bitstream/handle/123456789/1236/วิเชียร%20ทรงศรี.pdf?sequence=1&isAllowed=y
สมบูรณ์ บูรศิริรักษ์. (2553). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเข้มแข็งของภาคีเครือข่ายของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สมศักดิ์ เอี่ยมดี, มานิตย์ ไชยกิจ, กาญจนา เงารังษี, และสุมาลี จันทร์ชลอ. (2556). การพัฒนาระบบการบริหารเครือข่ายการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 15(5), 216-224.
สายสุดา เตียเจริญ, ไชยยศ ไพวิทยศิริธรรม, มาเรียม นิลพันธุ์, และนพดล เจนอักษร. (2565). การสร้างระบบ กลไก รูปแบบเครือข่ายการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมของพื้นที่การศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(1), 1-20.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). รายงานการศึกษารูปแบบและกลไกการมีส่วนร่วมและสมัชชาการศึกษา. พริกหวานกราฟฟิก.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2562). พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา. หอสมุดรัฐสภา. https://www.parliament.go.th/library
เสมา บุ้งทอง. (2563). การศึกษาองค์ประกอบของเครือข่ายการเรียนรู้ของโรงเรียนเอกชน. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 16(2), 66-79.
อิทธิพัทธ์ สุวทันพรกูล. (2554). การนำเสนอกลยุทธทางเลือกการบริหารจัดการสถานศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนตามแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและแนวคิดการจัดการศึกษาเพื่อการประกอบอาชีพ [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Denzin, N. K. (2009). The research act: A theoretical introduction to sociology methods. Routledge.
Lunenburg, F. C., & Ornstein A. C. (2012). Educational administration: Concepts and practices (6th ed.). Wadsworth.