การพัฒนาตัวบ่งชี้ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาโมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนมกับข้อมูลเชิงประจักษ์ การดำเนิน การมี 2 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 การพัฒนาโมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในโรงเรียนโดยการวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องรวมถึงการสัมภาษณ์ความคิดเห็นผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน และระยะที่ 2 การตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมที่สร้างขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 37 คน และครูจำนวน 390 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 427 คน ในปีการศึกษา 2564 ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.60-1.00 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.47-0.89 และค่าความเชื่อมั่น 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ
ผลการวิจัย พบว่า 1) โมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก 14 องค์ประกอบย่อยและ 72 ตัวบ่งชี้ และ 2)โมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยมีค่าไค-สแควร์ (Chi-Square : x2 เท่ากับ 62.79 ค่าองศาอิสระ (df) เท่ากับ 70 ค่านัยสำคัญทางสถิติ (P-value) เท่ากับ 0.72 ค่าดัชนี วัดระดับความสอดคล้อง (GFI) เท่ากับ 0.98 ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.97 และค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) เท่ากับ 0.00
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
อยู่ระหว่างการปรับปรุง (ลิขสิทธิ์และการรับผิดชอบ)
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. ชุมชนสหกรณ์การเกษตร แห่งประเทศไทย.
กัลยา สร้อยสิงห์. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาวิทยาลัยดุสิตธานี. วิทยาลัยดุสิตธานี.
กัลวัฒน์ มัญชะสิงห์. (2554). การวิเคราะห์สหสัมพันธ์. http://kalawat.esu.ac.th/joomla1522/index.php/component/content/article/44-resarch/83-correlation-analysis
เขมณัฏฐ์ กิ่งศิริธรรม. (2556). Social media สื่อสร้างสรรค์เพื่อการศึกษา. วารสารวิชาการ Veridian E -Journal บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 6(1), 72-81.
เจษฎา นาจันทอง. (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบสังคมเชิงรุกออนไลน์ที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมสำหรับผู้เรียนระดับมัธยมศึกษา [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ไชยยศ ไพวิทยศิริธรรม. (2557). การวิเคราะห์องค์ประกอบทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาวิชาชีพครู [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2551ก). ความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้น (LISREL) สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์: เอกสารประกอบการบรรยาย. ภาควิชาวิจัยการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2551ข). การสำรวจและสังเคราะห์ตัวบ่งชี้คุณธรรมจริยธรรม. ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม (ศูนย์คุณธรรม) สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน).
ประจักร์ เข็มใคร. (2559). การพัฒนาตัวบ่งชี้ความไว้วางใจต่อผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ดารารัตน์ มากมีทรัพย์. (2553). การศึกษาผลการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาวิชาการเลือกและการใช้สื่อการเรียนการสอนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ตีรวิชช์ ทินประภา. (2557). การรู้เรื่องทางคณิตศาสตร์ (Mathematical literacy) ทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21. นิตยสาร สสวท., 42(187), 23-26.
ธนกฤตา แจ่มด้วง. (2560). แนวทางพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากรตาม นโยบายประเทศไทย 4.0 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ปุนภพ ปรมาธิกุล. (2562). การพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมโดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงบูรณาการสะเต็มศึกษาแบบเทคโนโลยีหุ่นยนต์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
พรทิพย์ ศิริภัทราชัย. (2556). STEM education กับการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พรรทิพย์ ทั่วสูงเนิน. (2562). การสร้างแบบวัดทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 20 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
ภานุมาศ เศรษฐจันทร์. (2561). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาครูมหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มรัตนโกสินทร์. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 13(37), 75-90.
มารุต พัฒผล. (2557). รูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างการรู้คิดและความสุขในการเรียนรู้ของเรียนระดับประถมศึกษา. วารสาร Veridian E-Journal, Silpakorn University สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ, 2(3), 682-699.
เริงชัย ตันสุชาติ. (2548). เอกสารประกอบการสอนวิชา ศศ 422 เศรษฐมิติ 2. http://1ab.in/bBXa
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิธีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์.
วิจารณ์ พานิช. (2556). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. ส. เจริญการพิมพ์.
วิภาวี ศิริลักษณ์. (2557). การพัฒนาตัวบ่งชี้ทักษะของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
วิลาวัลย์ มาคุ้ม. (2549). การพัฒนาตัวบ่งชี้การจัดการความรู้ของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดกระทรวง ศึกษาธิการ [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ศิริรัตน์ จำแนกสาร. (2563). หลักการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับโดยใช้ขนาดตัวอย่างและวิธีการประมาณค่าที่เหมาะสม. วารสารการวัด ประเมินผลวิจัย และมิติทางสังคมศาสตร์, 1(1), 12-20.
สุทธิธัช คนกาญจน์. (2547). การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). แนวทางการจัดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 .http://www.kksec.go.th
สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน). (2562). ทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21. http://www.oknd.or.th/okmd-opportunity/new-ger/262
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. พริกหวานกราฟฟิค.
สุคนธ์ สินธพานนท์. (2555). นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน (พิมพ์ครั้งที่ 3). 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.
สุชารินี จันทร์คู่. (2559). ผลของการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาระดับชั้นปีที่ 4 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
สุธน วงค์แดง และภาณุมาส เศรษฐจันทร์. (2561). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาครูมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มรัตนโกสินทร์. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์,13(37), 75-90.
สุภาพร ศรศิลป์. (2559). ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม. http://www.gotoknow.com/varticle/500182
สุภาพร แสงสี. (2562). การพัฒนาตัวบ่งชี้ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยีของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ใหม่ ทุมศรี. (2560). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางวิชาการของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
อดุลย์ ไพรสณฑ์. (2559). การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของครูประถมศึกษา ตามแนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในการเป็นครูนักวิจัย [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อนุชา โสมาบุตร. (2555). ทักษะชีวิตและอาชีพสำหรับการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21. http://teachereyweekly.wordpress.com/life-andcareer-skills
อมรรัตน์ สิงห์โต. (2560). การพัฒนาตัวบ่งชี้การทำงานเป็นทีมของครูโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
อริยาพร โทรัตน์. (2560). การพัฒนาตัวบ่งชี้ทักษะชีวิตและอาชีพในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
อัครเดช นีละโยธิน. (2559). ตัวบ่งชี้ทักษะของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 สำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน: การพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้าง [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหามงกุฎราชวิทยาลัย.
อาภารัตน์ ราชพัฒน์. (2554). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Heick, T. (2016). Bertrand Russell’s 10 essential rules of critical thinking. http://www.teachthought.com/critical-thinking/bertrand-russells-10-rules-of-criticalthinking/?utm_content=buffere5629
Partnership for 21st Century Skills. (2009). P21 framework definitions document. http://www.21stcenturyskills.org
Pirto, J. (2011). Creativity for 21st century skills. http://bvsd. org/tag/Documents/
TEAs/Creativity%20for%2021st%20Century%20Skills%20by20Pirto.pdf
Stratford High School. (2015). 21st skills. http://stratfordhighStratfordk12.org/content/21stSkills_1.asp_Century
WikiFoundry. (2012). Introduction to creating a 21st century school system. http://wwdeskills21. wikifoundry.com/page/