การศึกษาการเปลี่ยนแปลงบทบาทของนักแสดงชายไทยในบริบทเรื่องชายรักชาย ของซีรีส์และละครโทรทัศน์ไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงบทบาทของนักแสดงชายไทยในบริบทชายรักชายในซีรีส์และละครโทรทัศน์ไทย 2) เพื่อศึกษาการรักษาภาพลักษณ์ของนักแสดงไทยในบริบทชายรักชายในซีรีส์และละครโทรทัศน์ไทยโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) เป็นเครื่องมือในเก็บรวบรวมข้อมูลและสัมภาษณ์นักแสดงชายไทยที่มีการเปลี่ยนแปลงบทบาทจํานวน 7 คน โดยแบ่งเป็นนักแสดงชายที่แสดงบทบาทในซีรีส์และละครโทรทัศน์ทั่วไปแล้วเปลี่ยนแปลงบทบาทมาเป็นนักแสดงในซีรีส์และละครโทรทัศน์ชายรักชายจํานวน 4 คน และนักแสดงชายที่เปลี่ยนแปลงบทบาทจากนักแสดงในซีรีส์และละครโทรทัศน์ชายรักชายไปเป็นซีรีส์และละครโทรทัศน์ทั่วไป จํานวน 3 คน ซึ่งผลการวิจัยพบว่า นักแสดงชายที่มีการเปลี่ยนแปลงบทบาทจากซีรีส์และละครโทรทัศน์ทั่วไปมาเป็นนักแสดงชายในซีรีส์และละครโทรทัศน์ชายรักชาย มีการดูแลภาพลักษณ์หลังการเปลี่ยนแปลงบทบาท เพื่อให้ตรงกับความชื่นชอบของกลุ่มแฟนคลับเพื่อให้สามารถต่อยอดการทำงานในวงการบันเทิงได้ในอนาคต แต่ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงตนเองในทุก ๆ ด้าน แต่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองในรูปแบบของรูปลักษณ์ภายนอก ขณะที่นักแสดงชายที่เปลี่ยนแปลงบทบาทจากซีรีส์และละครโทรทัศน์ชายรักชายมาเป็นซีรีส์และละครโทรทัศน์ทั่วไปไม่ได้คํานึงถึงปัจจัยด้านภาพลักษณ์เป็นหลัก แต่จะสนใจเรื่องบทบาทและ การแสดงในซีรีส์หรือละครโทรทัศน์ไทย นอกจากนี้ นักแสดงที่มีการเปลี่ยนแปลงบทบาททั้งสองรูปแบบไม่ได้คํานึงถึงปัจจัยด้านค่าตอบแทนและค่านิยมในการตัดสินใจเปลี่ยนแปลงบทบาท แต่เป็นเพราะปัจจัยด้านความท้าทายของตัวบทบาทคาแรกเตอร์ และการแสดงที่แตกต่างออกไปและไม่เหมือนเดิมจึงทำให้ตัดสินใจรับการแสดงในแต่ละบทบาท
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
อยู่ระหว่างการปรับปรุง (ลิขสิทธิ์และการรับผิดชอบ)
References
กฤชณัท แสนทวี. (2565). ภาพตัวแทนความรักของชายรักชายในละครซีรีย์วายไทย. วารสารการสื่อสารมวลชน, 10(2), 221-250.
ณัฐกิตติ์ ธรรมมา. (2557). การใช้เครื่องมือการสื่อสารการตลาดเชิงบูรณาการในการสร้างภาพลักษณ์ศิลปินของบริษัท ทรูแฟนเทเชีย จำกัด [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
นัฐทิยา มงคล. (2563). ปัจจัยภาพลักษณ์ของนักแสดงซีรีส์วายที่มีผลต่อความพึงพอใจของกลุ่มแฟนคลับในเขตกรุงเทพมหานคร [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ปนัดดา วงศ์ผู้ดี. (2557). การสร้างภาพลักษณ์ผู้มีชื่อเสียงของธุรกิจบันเทิงในประเทศไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยรังสิต.
ภัชรพรรณ์ อมรศรีวงษ์ และบัณฑิต สวรรยาวิสุทธิ์. (2562). การศึกษาทัศนคติและพฤติกรรมการบริโภคสื่อของสาววาย. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์, 5(1), 34-49.
มองผ่านเลนส์คม - 55 ปี ช่อง 4 บางขุนพรหม. (2553). คมชัดลึกออนไลน์. https://www.komchadluek.net/entertainment/68909
วรุตม์ มีทิพย์. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความซื่อสัตย์ภักดีต่อศิลปินเกาหลีของกลุ่มแฟนคลับชาวไทยในกรุงเทพมหานคร [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
อรวรรณ วิชญวรรณกุล. (2559). ผู้หญิงกับการสร้างนวนิยายชายรักชาย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อรอุษา อึ๊งศรีวงศ์. (2555). การสร้างตัวละครและการเล่าเรื่องในละครโทรทัศน์ญี่ปุ่นที่ใช้เป็นแก่นเรื่อง [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อัฎฐ์ กู้พงษ์ศักดิ์. (2558). การบริหารจัดรายการของกิจการโทรทัศน์แบบฟรีทีวีเพื่อผลเชิงพาณิชย์. วารสารนักบริหาร, 30(2), 30-36.